Saturday, August 29, 2009

หลากวิธีการทำให้คนเราไม่คิดอะไรสร้างสรรค์ หรือ innovative ออกมา

คนที่เป็น head ขององค์กรหรือว่าในระบบย่อยของตนเอง หากว่างานๆนั้นต้องการแนวคิดแปลกใหม่ และความคิดสร้างสรรค์แล้วล่ะก็ ( ผมก็คิดไม่ออกหรอกว่างานอะไรที่ไม่ต้องการแนวคิดสร้างสรรค์ เพราะว่ารู้ๆอยู่ว่าเดี๋ยวนี้องค์กรอยากได้ idea สดใหม่ด้วยกันทั้งนั้นเพียงแค่ว่าจะรับได้เหรอป่าวเท่านั้นเอง) มีวิธีการหลากหลายที่จะทำให้ตัวคุณเอง เพื่อนร่วมงาน และลูกน้องทั้งที่อยู่ภายใต้อำนาจตรงหรือเหลื่อมๆออกไปบ้าง "หยุดที่จะคิดอะไรสร้างสรรค์"

1. วิจารณ์มันซะให้เสีย : วิธีนี้ทำให้คนหยุดคิดได้ไม่ยากเลย เพราะว่าคิดไปก็เปล่าประโยชน์ มองเห็นความคิดคนอื่นไม่มีค่าเอาเสียเลยแล้วก็ไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมัน ในทางตรงกันข้ามก็คือ คิดซะว่าความคิดตัวเองเป็นใหญ่ คนอื่นๆก็ต้องคิดเป็นทิศทางเดียวกันโดยวิจารณ์ความคิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นแล้วการวิเคราะห์วิจารณ์พึงมีบ้างไม่มากเกินไป แต่ว่าถ้าหากว่าคุณเป็นหัวหน้าด้วยแล้วล่ะก็อย่าไปวิจารณ์ความคิดจะดีกว่าเพราะอย่างไรเสียคุณต้องก็ตัดสินใจอยู่ดี ถ้าอย่างนั้นแล้วยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องให้เยอะและ support แนวคิดของเค้าเหล่านั้นให้ได้ลองให้ได้ทำ อย่าแค่ไปตีกรอบเค้าซะแล้วก็เลิกรากันไป อีกหน่อยเค้าก็จะไม่ต้องคิดอะไรให้คุณอีกต่อไป เมื่อคุณจำเป็นต้องการให้เค้าเหล่านั้นคิดอะไรออกไป เค้าก็จะไม่คิดแล้วก็จะทำให้ตัวคุณเองน่ะหละ คิดต่อยอดไปว่า .. ชิเจ้าพวกนี้ไม่รู้จักคิดไม่สร้างสรรค์แนวคิดอะไรมาออกมาให้เกิดประโยชน์มั่งเลย โดยไม่รู้ตัวหรอกว่าตัวคุณน่ะหละเป็นคนทำให้เค้าทำแบบนั้น (รู้ตัวกันมั่งเหรอป่าวน่ะ เอ้อ ..)

2. ไม่เคยเลยที่จะระดมความคิด : การ Brainstorms เป็นเรื่องปกติสำหรับงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ นั่นก็แปลว่า ต้องระดมความคิดเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องตื่นเต้นหรือคิดว่ามันหรูหราอะไร เพราะเราอยากจะสร้างบรรยากาศให้ได้มีคนคิดออกมาเยอะๆแบบไม่ได้สนหรอกว่ามันจะไม่ดียังไง เราวิเคราะห์ต่อได้ภายหลัง แต่ว่าการ Brainstorm นั้นเราต้อ่งการ idea ที่มากทิศทางมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จากหลากมุมมอง เลิกมองว่าคนอื่นผิดซะที แล้วจะทำให้คนอื่นๆเค้าเปร่งความคิดออกมามากขึ้นได้

3. โม้ปัญหาแนวคิดให้เป็นเรื่องใหญ่โต : แน่นอนว่าถ้าหากว่ามันฟังดูใหญ่โตแล้ว แล้วถ้าเป็นปัญหาใครล่ะจะรับผิดชอบ คนออกความคิดน่ะซิ หลายๆคนมักจะคิดอย่างงั้นเพราะฉะนั้นแล้วถ้าหากว่าคุณเป็นหัวคนแล้วล่ะครับ อย่าไปโม้เพ้อให้เรื่องที่ต้องการความสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่ใหญ่โตเกินตัว มันไม่มีอะไรดีทั้งนี้ เช่น เรามาคิดกันซิว่าเราจะกำหนดทิศทางบริษัทกันยังไงดี แล้วถ้าหากว่าลูกน้องฟังแบบนี้แล้วความคิดเค้าโดนเอาใช้งานแล้วเกิดว่าไม่ work ล่ะทำยังไงดีล่ะเนี่ยะ แล้วถ้าหากว่ามัน work นี่เค้าจะได้ผลงานเยอะเลยเหรอ ? (ก็ไม่ถ้าหากว่าคนที่เป็นหัวที่ชอบเอาความคิดคนอื่นเป็นความคิดตัวเองอยู่แล้ว แล้วลูกน้องรู้หรอกว่าหัวหน้าเค้าเป็นคนนิสัยอย่างนี้) แน่นอนว่า ทำให้ปิดความคิดสร้างสรรค์ไปได้เลย

4. เน้นย้ำการทำงานเชิงประสิทธิภาพ ไม่ใช่ที่การสร้างสรรค์ : เราต้องทำให้ได้เยอะขึ้นประสิทธิภาพงานดีกว่าเดิม โดยใช้วิธีการเดิมๆนี่น่ะหละ พูดอย่างนี้เป็นการจำกัดแนวคิดสำหรับสิ่งใหม่ๆไปแล้ว เพราะเราคิดว่า business model หรือว่าโครงสร้างในการทำงานของเรานั้นมันดีอยู่แล้วไม่ต้องคิดอะไรใหม่ แล้วจะคิดอะไรใหม่อีกล่ะ

5. ทำให้เยอะเข้าไว้อย่ามาคิดอะไรให้เสียเวลา : เป็นแนวคิดที่เขื่อว่าการทำงานด้วยเวลาที่มากขึ้นแปลว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น หรือว่ามันจะแก้ปัญหาได้ แนวคิดนี้สนับสนุนการคิดและการทำงานแบบเดิมๆเหมือนกับข้อที่แล้ว แค่ว่าทำให้มันเยอะขึ้นเท่านั้นเอง ก็อีก ... มันไม่มีอะไรแปลกใหม่ออกมาได้หรอก  ยกเว้นงานๆนั้นคือ งานที่คิดอะไรใหม่ๆออกมาเป็นประจำน่ะครับ

6. ทุกอย่างต้องมีแผนการณ์แล้วทำตามนั้นซะ : แผนการณ์นั้นแท้ที่จริงแล้วมีได้ ผมได้อ่านบทความว่าแผนการณ์เราสามารถที่จะกำหนดให้ละเอียดได้มากเท่าที่จะมากได้ก็ทำได้ แต่ว่ามันจะกินเวลาแล้ว แท้ที่จริงแล้วเราทำตามนั้นทั้งหมดไม่ได้หรอก มันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็น trend หรือ fashionใหม่ๆ หรือทิศทางตลาดใหม่ๆที่เกิดขึ้น การทำไปแล้วรู้ข้อมูลมากขึ้น

7. ลงโทษคนผิดซะทางกายวาจาจิตใจได้ด้วยเนี่ยะดีเลย ตัวการนัก : การให้รางวัลแก่การทำดี แต่ว่ามีการทำโทษเมื่อเกิดความผิดพลาดจะเป็นการกำหนดว่าถ้าหากว่าแผนการหรือแนวคิดออกมาไม่ได้ดี หรือให้ผลออกมาไม่ดีเท่าไหร่ คนคิดจะต้องรับผิด(ชอบไม่ได้) เป็นการตัดกำลังคิดของคนในองค์กรอย่างรุนแรง ยอมรับเถอะว่าอะไรมันก็ต้องผิดพลาดกันได้แต่ว่าต้องรู้ตัวให้เราเท่านั้นเองและจะต้องไม่ประนามคิดใครคนๆนั้นเพื่อให้เค้าเหล่านั้นที่เสนอความคิดออกมาได้ยังคงคิดต่อไปในที่สุด

8. อย่าไปมองคนอื่นเค้าเพราะว่าสิ่งที่เราทำมันดีแล้ว : แนวคิดนี้เหมือนกับมุมมองที่ว่า คนอื่นทำได้ แต่ว่าเราก็อาจจะทำไม่ได้หรอกเพราะว่า business มันไม่เหมือนกัน แต่ว่าจริงๆแล้วเราต้องคิดให้เยอะกว่านั้นความจะใช้ความคิดของคนอื่นๆ หรือ แนวคิดขององค์กรแบบอื่นจะเอาปรับใช้ได้อย่างไรมากกว่า เพราะฉะนั้นแล้วจงดูคนอื่นภายนอกด้วยว่าเค้าทำอะไรกัน ?

9. โปรโมตคนที่คิดแบบเดียวกัน : ทำแบบนี้ทุกคนจะคิดเหมือนกัน ทำอะไรไม่ต่างกัน ไม่ต้องการแนวคิดอะไรที่แหวกไป เพราะว่า การที่คนอื่นคิดไม่เหมือนกันเป็นการเหนื่อยตัวเองต้องมาทำให้ตัวเองคิดเยอะขึ้น ทั้งๆที่จริงๆแล้วเป็นเรื่องดี แต่แค่ว่าไม่อยากเหนื่อยเท่านั้น หรือว่า จะทำอะไรมันกินเวลามากกว่าเดิม มันก็ถูกอยู่น่ะครับ แต่ว่าคุณแน่ใจได้อย่างไรว่าคุณคิดถูกอยู่คนเดียว ?

10. อย่าเสียเวลาส่งคนไปเรียนรู้อะไรเลยจะดีกว่า : เราคิดว่า อืม .. .เราจ้างคนมาเพื่อเรียนรู้ความคิดเรา อย่าคิดแบบอื่นเลย มันจะมาคิดแทนเราไปได้อย่างไร เราเนียะหละเก่งที่สุดแล้ว แบบนี้จะได้เจริญกันน่ะครับ ใครๆก็รู้ว่าการที่ส่งคนเพื่อไปเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมเป็นเรื่องดี แต่ว่าไหงพออยู่สภาพขององค์กรขึ้นมา การส่งคนกลับเป็นเรื่องเลวร้ายเพราะว่าจะต้องไปเจอพวกเดียวกันอาจจะโดยจูงตัว ถามคำถามภายใน อย่าส่งมันออกไปเรียนจะดีกว่ามั้ย มันไม่ได้รู้อะไรขึ้นมามากมายหรอกกะแค่ไปเรียนข้างนอกปะๆปายๆเนียะ ถ้ากลัวโดนดึงคนแล้วจริงๆเดี๋ยวนี้มีการ in house training ได้ก็ส่งเสริมที่จะให้เรียนน่าจะดีกว่าน่ะครับ มันไม่ได้เสียเงินเสียเวลาเรียนอะไรมากมายหรอก ไม่แน่ว่าความคิดความรู้ใหม่ๆอาจจะทำให้คนๆนั้นเปิดโลกทัศน์ขึ้นบ้างก็ได้ ไม่มากก็น้อย

Friday, August 28, 2009

แหมกิน Sushi แค่นี้จะเอาอะไรกันมากนักหนาเนียะ ?

ดูเหมือนกะว่า การกิน Sushi จะมีพิธีรีตองมากเกินไปหน่อย จนน่ากลัวเลยเหรอป่าวน่ะครับ ยังไงซะกินที่บ้านเราก็ไม่ต้องถึงขั้นนี้น่ะครับผม เฮอะๆ .. ขำมากครับ

Wednesday, August 19, 2009

slow motion thinking : การคิดเพื่อให้มุมมองอื่นๆมากกว่าผู้ส่งสารต้องการที่ส่ง

หลายต่อหลายครั้งผมได้มีโอกาสอธิบายเรื่องที่ดูเหมือนกับว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดแต่ไม่ได้มีคนสังเกตสิ่งเหล่านั้นออกมาแล้วเล่าถอดความเหตุและผลเพื่อให้ความกระจ่างกับสิ่งธรรมดานั้น การอธิบายสิ่งที่ดูเหมือนปกตินั้นออกมาได้ ถือได้ว่าต้องอาศัยความช่างสังเกตและการคิดผูกเชื่อมเรื่องเข้าด้วยกัน กับประสบการณ์และจินตนาการ หนังสือเยอะเล่มก็เล่าเรื่องประเภทนี้ และนึกคิดเยอะคนก็สำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ออกมาเป็นตัวหนังสือเช่นเดียวกันเพื่อให้คนที่ชอบอ่านได้คิดตามแบบ slow motion ที่ผมว่ามันเป็น slow motion ก็เพราะว่า ตอนที่อ่านจะอ่านช้าหรือจะอ่านเร็วก็ได้ อีกอย่างคนเขียนก็เขียนให้ยืดให้ยาดโดยมีประเด็นสาระสำคัญเพียงประเด็นเดียวก็ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องดีเพราะจะทำให้คนที่ยังคิดตามไม่ทันเกิดภาพคำนึงคิด ฟังเหตุและผลติดตามเนื้อหาเพื่อกลั่นสาระสำคัญออกมาในหัวของคนอ่านได้ในท้ายที่สุด สังเกตได้ว่าไม่กี่ประโยคล่าสุดที่คุณๆได้อ่านผ่านไปก็เป็นการบรรยายภาพการถ่ายโอนความคิดจากคนเขียนผ่าน text ผ่านตาไหนผ่านการประมวลเข้าหัวของคนอย่าง slow motion อีกนั่นเองและผมก็ไม่ได้พิมพ์ครั้งเดียวซะด้วย ถ้าหากว่าอ่านดีๆผมพิมพ์เล่าไปแล้วสองครั้งว่ามันเกิดอะไรขึ้นระหว่างการสื่อสารของคนเขียนและคนอ่าน

ดังนั้นแล้วทักษะสำหรับการสังเกต การเล่าเรื่องอธิบายสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราต้องเริ่มจากการคิดและเขียนเล่าออกมาได้แบบ slow motion เพื่อให้คนอ่าน get idea เราได้ไม่ยาก สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะฝึกกันได้โดยการเริ่มสังเกตความคิดของตนเองแล้วเขียนมันออกมาเหมือนกับที่ผมสังเกตความคิดในประเด็นนี้แล้วร่ายมันออกมาเป็น text ที่คุณๆได้เห็นอยู่นี้

นอกจากนี้เมือเรามีทักษะในการคิดแบบ slow motion แล้วเราจะได้รับประโยชน์ในหลายมิติด้วยกัน เช่น ความสามารถในการสังเกตเห็นในสิ่งที่คนอื่นๆมองไม่เห็น ไม่เคยคิดแบบนั้นมากขึ้น คุณจะเริ่มมีความคิดที่คุณไม่คิดว่าตัวคุณเป็นคนคิด เหมือนกับว่า คนอื่นที่อยู่ในหัวคุณอีกสองสามคนคิดออกมา คุณจะได้ความคิดแนวคิดใหม่ๆที่ออกมาจากความคิดใต้สำนึกแปลกๆที่เป็นมุมมองที่แม้กระทั่งตัวคุณเองปกติคุณจะไม่ได้คิดอย่างงั้นอยู่แล้วหรือว่าถ้าหากว่าคุณคิดกับประเด็นอะไรมากๆคุณจะไม่คิดออกมาอย่างงั้นแน่ๆ เรียกง่ายๆก็คือ ถ้าหากว่าคุณเจอโจทย์ใดๆในโลก ความคิดต่อโจทย์นั้นของคุณจะมีได้มากกว่า 1 มุมมอง มันเป็นมุมมองอิ่นๆที่คุณจะไม่ได้ออกแรงคิดมากมายอะไรนัก มันเหมือนกับว่ามันออกมาได้เองจากคนอื่นๆที่อยู่ในความคิดคุณ แต่ขั้นตอนถัดไปเมื่อคุณคิดได้อย่างนั้นแล้ว การอธิบายออกมาด้วยภาษาแม่ที่คุณมีก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคุณคิดแล้วคุณไม่สามารถที่จะเล่าออกมาเป็นฉากๆหรือทำการอุปมาให้คนอื่นเห็นภาพได้แล้ว คุณก็จะรู้เรื่องนั้นอยู่คนเดียวด้วยภาพในหัวของคุณทีไม่คมมากนัก ความคิดที่ตัวคุณจากมุมมองอื่นๆจะให้ภาพที่ไม่ชัดเจนมากนักจนกว่าคุณจะเล่าให้คนอื่นฟังออกมาได้ (หากเป็นเรื่องที่ไม่มีความซับซ้อนจนเกินไป) เมื่อคุณเล่าออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นพูดหรือการเขียน (สำหรับผมแล้วแนะนำการเขียนเพราะเป็นการ capture ที่เห็นภาพความคิดได้ชัดที่สุด เพราะตอนที่เรียบเรียง text ออกมาครั้งมันกลั่นความคิดแบบถยอยปล่อยออกมาทำให้ไม่เกิดความสับสนมากนัก ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนสุดท้ายก็แล้วแต่คนอยู่ดีว่าเค้ามีการฝึกมากไปทางไหนก็จะมีความชำนาญในด้านนั้นมากกว่าอย่างแน่นอน)

ประโยชน์อื่นๆที่คุณจะได้รับจากการฝึกคิดแบบ slow motion นี้ได้ก็คือ คุณสามารถตีความเนื้อความที่คนอื่นสื่อสารออกมา ไม่ว่าจะการสื่อสารด้วยการพูด หรือ การเขียน แล้วคุณสามารถที่จะถอดความไปในมิติอื่นๆ นอกเนื้อไปจากเนื้อความนั้นได้อีกด้วย เรียกว่า "การต่อยอดความคิด" จริงๆแล้วไม่ได้เป็นยอดอะไรหรอกเพราะถ้าหากว่าเป็นยอดจริงๆมันมีทิศทางเดียว แต่ว่ายอดที่อธิบายอยู่นี้เป็นยอดเหมือนยอดหนามที่มันมีเยอะยอดมากๆแล้วแต่ว่ามุมมองอื่นที่คุณถอดความออกจากเนื้อความนั้นจะเอาไปคิดได้มากน้อยแค่ไหน การคิดต่อยอดแบบนี้หลายคนคงคิดว่าน่าจะเป็นการคิดแบบว่า .. เมื่อเราได้รับสารสื่อนั้นแล้วเราจะปรับใช้กับตัวเราได้อย่างไร ? ผมบอกให้ว่ามันไม่ใช่แค่นั้น มันไม่ได้จำเป็นต้องปรับใช้กับตัวเรา หรือว่าจะหาประโยชน์อะไรกับเนื้อความนั้นได้หรือไม่ มันไม่จำเป็นต้องคิดเข้าข้างตัวเองอย่างงั้นตลอดเวลาเพราะการคิดต่อยอดนั้นต้องคดิให้เยอะแฉกมากที่สุด ไม่ได้หวังผลแต่ตัวเรา มันเป็นการตัด scope ความคิดเกินไปทำให้เราอาจจะไม่เห็นมุมมองจากมิติแนวคิดอื่นๆที่ตัวเราจะโพร่งออกมาได้ ง่ายๆคืออย่าคิดว่าจะเอาประโยชน์อะไรจากเนื้อความนั้น ณ เวลานั้น ให้คิดให้เยอะมุมมองที่สุดก่อนแล้วอยากคัดกรองเอาอะไรเข้าตัวทีหลังก็ไม่เป็นไรอยู่แล้ว ช้ากว่าแค่เสี้ยวความคิดเดียวเองมันก็ไม่ได้นานมากเท่าไหร่หรอกว่าเหรอป่าวล่ะครับ

การคิดต่อยอดหรือถอดความในมุมอื่นๆได้นั้นจะทำให้คุณเก็บประโยชน์จากประโยคคำถามหรือคำพูดของคนอื่นได้เพิ่มเติมแม้ผู้พูดหรือผู้เขียนนั้นจะไม่ได้ต้องการที่จะสื่อสารแบบนั้นก็ตาม ทั้งหมดนี้เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นและคุณคิดออกมาได้จากมุมอื่นๆนั้น อาจจะเป็นแนวคิดที่ยิ่งใหญ่เปลี่ยนชีวิตคุณเลยก็ได้มันไม่แน่หรอกครับ

Thursday, August 13, 2009

ท่านใดลุกตอนนี้จะได้ชาเขียวกล่องกลับไปกินบ้าน ?

อ้างอิงเนื้อความของคุณต้า เรื่อง "ลุกก่อน 20 นาที รับฟรีชาเขียว 1 กล่อง”

การประกาศให้คนออกจากร้าน buffet แล้วจะได้ของอะไรสักอย่างนั้นไม่รู้ว่าคนคิดคิดออกมาได้ลึกมากแค่ไหนแล้วไม่รู้ว่ามีการวิเคราะห์หรือคาดหวังผลออกมาอย่างไรบ้าง แต่ว่าจะดูราวกับว่าวิธีการนี้จะเป็นวิธีทีทำให้คนออกมาร้านได้เร็วขึ้นแบบมีแรงจูงใจ แต่มองไปมองมาวิธีการนี้ไม่น่าจะได้ผลมากมายนักเพราะว่าที่ร้านก็มีน้ำประเภทเดียวกันนี้ให้ดื่มอยู่แล้ว กะแค่ร้อยกว่า cc แก้วเดียวเอากลับบ้าน .เอ ไม่รู้ว่าคนอื่นเค้าจะคิดว่าอยากได้เหรอป่าว แต่ว่าผมเคยอยู่ในสถานการณ์นี้ คือ คนมันเยอะ คนรอก็เยอะเค้าก็จะประกาศว่าถ้าหากว่าออก ณ เวลานี้จะมีของสมนาคุณ (ไม่ได้บอกว่าเป็นอะไร แต่ว่าโดย sense ก็จะรู้อยู่หรอกว่ามันต้องไม่คุ้มค่าสักเท่าไหร่ น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ชาเขียวอย่างหนีไม่พ้นเพราะต้นทุนนั้นต่ำเหมือนขยะ) แต่ผมลองสังเกตคนดูไม่ได้มีคนใส่ใจเรื่องนี้สักเท่าไหร่ เรียกว่า จะบอกไปแบบนี้ไม่ได้ทำให้คนที่อยากจะนั่งต่อลุกออกไปได้ แต่ะจทำให้คนที่กำลังจะออกลุกตัดสินใจว่าเวลานี้เป็นเวลาออกที่ดีกว่า การที่เดินออกไปตัวเปล่าเท่านั้นเอง

มูลค่าการนั่งกินที่ร้านแบบ buffet ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะนั่งนานแค่ไหนแต่ว่ามันขึ้นอยู่กับว่ามันอิ่มแล้วหรือยังมากกว่า แค่ 1.20 hrs เวลาเท่านี้คิดว่าร่างกายไม่สามารถที่จะทำให้กลับมาหิวใหม่ได้แน่นอนดังนั้นแล้วถ้าหากว่ากินแล้วอิ่ม ณ เวลา 30 นาทีแรก เวลาที่เหลือจะไม่มีคุณค่าใดๆสำหรับคนๆนั้นอีกต่อไป (กรณีที่มาคนเดียวน่ะครับ) สำหรับคนที่ยังไม่อิ่มและคิดที่จะกินต่อ จะไม่มี effect ใดๆจากประกาศที่ว่า เพราะรู้อยู่แล้วว่าการได้กินต่อนั้นย่อมคุ้มค่ากว่าการเดินออกไปเป็นแน่ (ถ้าหากว่ายิ่งคิดออกว่าของที่จะได้เป็นแค่น้ำชาทีมีให้กดอย่างไม่อั้นที่ร้านแล้ว ยิ่งเลิกคิดไปได้เลย)

โดยสรุปแล้วคนที่จะลุกออกไปน่าจะเป็นพวกที่อิ่มแล้ว แล้วรอให้คนอื่นอิ่มพร้อมๆกันเท่านั้น หรือว่ากำลังจะออกอยู่แล้วแต่ว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะออก ผมเดาเอาว่าถ้าหากว่าไม่ได้มีการศึกษาถึงเวลาเฉลี่ยทางสถิติว่าคนทำอะไร ณ เวลาไหน อิ่มด้วยค่าเฉลี่ยเวลาเท่าไหร่ แล้วล่ะก็ .. ผมคงเดาเอาก่อนว่าจะทำให้คนที่คิดจะออกแล้วออกได้เร็วกว่าเดิมไม่น่าจะเกิน 10 นาที (เพราะคนอิ่มกันทั้งโต้ะแล้วก็น่าจะรอเพื่อออกจากร้านไม่นานมากเท่าไหร่นัก เพื่อจะนั่งคุยกันหลังอิ่มเท่านั้น ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะนั่งต่อไปเพื่อให้ได้นั่งครบเวลา หรือ ถ้าหากว่ามีของมีคุณค่ามากกว่าน้ำชาแล้วคนเหล่านี้รู้เช่นถ้าหากว่าเป็น บัตรกำนันมูลค่า 300 บาทเพื่อมากินครั้งหน้า แนวโน้มคือ เวลาที่ busy ที่สุดและคนเยอะรอเยอะที่สุด ก็จะรอเพื่อให้มีประกาศแบบนี้) เพราะฉะนั้นแล้วมูลค่านั้น คนจะเดาออกได้ว่ามันจะต้องไม่มากเกินไปแน่นอน (แม้ว่าเค้าเหล่านั้นจะไม่ได้คิดวนเวียนลึกล้ำประมาณนี้แต่ว่ามันคิดออกมาได้ด้วยจิตใต้สำนึกไม่ยากอย่างไม่จำเป็นต้องมีระบบคิดเป็นเหตุผลให้สลับซับซ้อนอะไร)  อย่างไรก็ตามการเอาชาเขียวมาล่อแน่นอนว่ามันจะดีกว่าการที่เดินออกไปตัวเปล่าครับ ต้นทุนต่ำกว่าการที่จะเปิดโอกาสให้คนเข้ามาได้เร็วขึ้นอีก 10 นาทีในโต้ะที่กินอิ่มแล้ว ยังไง้ๆก็คุ้มค่าที่จะประกาศออกไปอย่างนั้นอยู่ แต่ไม่แนะนำให้เพิ่มมูลค่าของที่ให้อย่างเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ เพราะมันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนมากินในร้านได้ในท้ายที่สุด

Wednesday, August 12, 2009

Log Home : ปิ้งๆย่างๆกะชาบูอยู่โต้ะเดียวกัน

ร้านนี้เพิ่งจะได้เคยไปกินเป็นครั้งแรกเพราะว่ามันอยู่ไกลประมาณ ทองหล่อสิบแปดเห็นจะได้ (ถ้าหากว่าอยากรู้ตำแหน่งแน่ชัดแล้วไปที่ Google Map เองน่ะครับ) ไปถึงไม่พูดพร่ำทำเพลงอะไร บอกเค้าว่าเอาบุฟเฟ่ห์ครับ เท่านั้นเค้าก็จัดการให้ หน้าตาของร้านจะบรรยากาศดีเสียหน่อย คนก็ไม่ได้เยอะแยะอะไรมากมาย ก็เพราะว่ามันอาจจะเป็นวันอาทิตย์ที่คนไม่อยากไปไหนมาไหนก็ได้น่ะครับ ผมเองก็ไม่ค่อยอยากไปไหนเหมือนกันแต่ว่าอยู่บ้านมันก็เหมือนจะน่าเบื่อไปนิสครับ

ร้านนี้ผมว่าอาหารใช้ได้ เนื้อทำออกมาได้ดีโอเค แต่ว่าก็ต้องรู้จักเลือกที่จะสั่งเหมือนกัน เนื้อที่ผมสั่งเป็นเนื้อสไลสำหรับ shabuๆเค้าก็ให้มาจานใหญ่ๆจานนึง ปริมาณเนื้อไม่มากนักแต่ว่าก็กินคนเดียวได้หมดกำลังดี แต่ว่าส่วนอื่นๆที่ผมว่าอร่อยกว่าเนื้อชาบูก็จะเป็นเนื้อที่เอาไว้ย่างนั่นเองครับ ตอนนั้นผมจำได้ว่าสั่งแค่สองอย่างก็คือ เนื้อคาลบี้ จะเป็นเนื้อส่วนที่ติดมันแต่ว่ามันแยกชั้นกัน (เขี่ยมันออกได้ไม่ยากหลังจากปิ้งให้สุกแล้ว) แล้วก็อีกอย่างก็จะเป็นเนื้อลายหินอ่อน ซึ่งเนื้อแบบนี้จะเอามันออกมาไม่ได้เลยเพราะว่ามันแทรกเข้าไปหมดทุกอนูเนื้อ แต่ว่าแย่หน่อยที่มันทำให้เหนียวเกินกว่าจะกินได้ผมก็เลยซัดและสั่งเอาแค่เนื้อคาลบี้กันน่ะครับ นอกนั้นรายการอาหารอื่นๆผมก็สั่งมาเหมือนกันถือว่า คุณภาพอาหารอยู่ในระดับดีใช้ได้ แต่ว่าแย่หน่อยที่ว่ากินไปกินมาค่าน้ำไม่รวม แล้วก็กินไปเฉลี่ยหัวละสี่ร้อยกว่าๆเห็นจะได้ ผมถือว่าอยู่ในระดับแพงกลางๆแล้วน่ะครับ จะไม่คุ้มค่าเลยหากว่ากินไม่เยอะเหมือนกันผม (วันนั้นผมกินไม่เยอะน่ะครับเน้นกินบรรยากาศแทนครับผม) ยังไงก็ลองกินได้ติดใจคุ้มค่าหรืไม่นั้นแล้วแต่บุคคลไปครับ อ้อ ลืมบอกไปอย่างสำหรับคนที่อยากกิน shabu ๆ เน้นว่าไปกินอากิโยชิจะคุ้มค่ามากกว่าน่ะครับเพราะว่าที่นี่น้ำจิ้มจะเหมือนกะไดโดม่อนเป็นการ  save cost น้ำจิ้มแบบหนึ่งไว้น่ะครับเพราะว่าน้ำจิ้มงาถือได้ว่าเป็นน้ำจิ้มที่มีราคาแล้ว หากินได้ยาก หากว่าจะทำให้อร่อยในประเทศไทยครับ อาชิโยชิยังถือได้ว่าเป็นที่หนึ่งอยู่ ณ เวลานี้จบกว่าจะผมหาที่กินที่ได้อารมณ์มากกว่านั้นเจอครับผม

IMAGE_300 IMAGE_302 IMAGE_304

IMAGE_299 IMAGE_301 IMAGE_303

Friday, August 07, 2009

ทิศทางและแนวโน้มของงานของมนุษย์ที่จะหลงเหลืออยู่ในอนาคต (อันใกล้?)

งานที่มีอยู่ในสังคมโลกเรานั้นถ้าหากแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆ ผมก็คิดว่ามันก็ไม่น่าจะมีมากประเภทอะไรนัก หลักๆแล้วน่าจะโดนแบ่งออกว่างานนั้นจะใช้แรงงานกายภาพที่ใช้กล้ามเนื้อแท้ๆ และงานที่จะใช้แรงงงานกายภาพที่ใช้กล้ามเนื้อสมอง แล้วงานที่ใช้กล้ามเนื้อสมองก็จะแบ่งออกไปได้อีกว่าเป็นงานที่จะต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ออกแบบหรือประเมินนัยภาพเชิงศิลป์ นัยภาพเชิงศิลป์นั้นผมหมายถึง งานที่ดูออกได้ว่าดีไม่ดีหรือสวยไม่สวย งามไม่งาม เจ๋งไม่เจ๋งได้จากการสำเนียงรู้ของสมองที่สัมผัสได้ด้วยความสุนทรีย์ สนุกสนานหรือบันเทิง งานเกี่ยวข้องกับอารมณ์ art ๆหน่อยว่าอย่างงั้นก็ได้ กับอีกประเภทที่เป็นงานใช้แรงงานสมองที่ต้องประกอบไปด้วยตรรกะ การทำงานที่เป็นขั้นตอน การประเมินข้อมูลเชิงวิเคราะห์ เรียกงานๆว่าการแบ่งแยกงานที่ใช้แรงงานกล้ามเนื้อสมองนั้นโดนแบ่งตามซีกสมองยังไงอย่างงั้นก็ว่าได้

ย้อนกลับมาในมุมมองที่กว้างกว่าเมื่อสักครู่เราอาจจะแบ่งงานคร่าวๆออกได้จากอีกมุมมองหนึ่งก็คือ งานที่ดูเหมือนเป็นงานซ้ำเดิม และ งานที่ดูเหมือนว่าเป็นงานไม่ซ้ำเดิม (ที่ผมพิมพ์ว่าดูเหมือนด้วยนั้นก็เพราะว่า บางคนอาจจะดูว่างานๆนั้นซ้ำหรือไม่ซ้ำก็ได้แล้วแต่มุมมองกับทัศนคติต่องานประเภทนั้น) ยกตัวอย่างเช่น การทำบัญชีที่เป็นไปตามกฏอย่างถูกต้อง น่าจะเป็นงานที่ทำซ้ำๆตามแกนเวลา เมื่อถึงรอบบัญชีก็ต้อง หรือ การตรวจสอบประวัติคนเข้าเมืองของด่านที่สนามบินเป็นต้น งานแบบนี้ก็เป็นงานซ้ำที่เรียกได้ว่าคิดออกได้ไม่ยากและไม่มีข้อกังขาแต่ประการใดว่ามันเป็นงานซ้ำโดยแท้

จากมุมมองงานที่ทำซ้ำได้หรือ งานที่สามารถกำหนดกฏเกณฑ์หรือตรรกะได้อย่างแน่ชัดนั้นอีกหน่อยแล้ว หากไม่โดยพิจารณาว่าเป็นงานที่ใช้แรงงานเท่านั้นมันก็จะโดยการทำงานที่มีประสิทธิภาพกว่าเข้ามาทดแทนในท้ายที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง การตรวจอาจจะพิจารณาว่าคนที่เดินเข้ามานั้นหน้าเหมือนกับ passport หรือไม่ และ ต้องดูเองสารว่ามีสัญลักษณ์ต่างๆครบถ้วนหรือไม่ และ ต้องดูอีกว่า passport นั้นเป็นของจริงหรือไม่ และต้องฟังสำเนียงเสียงว่าเป็นคนของประเทศตาม passport หรือไม่ และต้องดูอีกว่าหน้าไม่เหมือนโจรข้ามชาติที่จะมีปะเอาไว้ที่หัวโต้ะ สมมุติก่อนแล้วกันว่างานของคนที่นั่นเค้าทำกันอย่างนี้และเท่านี้ เราก็จะคิดระบบที่ดีกว่าโดยไม่ต้องใช้คนทำงานนั้นสามารถทำได้เมือ technology มาถึงจุดที่จะมีการใช้ได้อย่างเหมาะสม ยกตัวอย่าง เช่น การเปรียบเทียบภาพถ่ายอัตโนมัติเพื่อที่จะดูว่าคนที่อยู่ตรงหน้านั้นเหมือนกับภาพในการสมุดหรือไม่ หรือดูออกว่าเป็นภาพโจรหรือมีความคล้ายกันหรือไม่ ระบบฟังเสียงเพื่อคัดกรองสำเนียงภาษา โดยการอ่านหรือพูดประโยคใดๆที่โดนสุ่มออกมาเพื่อเปรียบเทียบกับชุดเสียงของคนในประเทศๆนั้นตามเพศและอายุ เพื่อดูว่าเป็นคน local แล้วพูด local ได้อย่างชัดเจนหรือไม่ เป็นต้น กรณีที่ผมยกตัวอย่างมาให้ฟังนั้นอาจจะยังไม่ได้ถูกแทนที่ทันทีด้วยระบบอัตโนมัติเพราะยังไม่มีจุดคุ้มทุนของ Technology ที่เหมาะสม ณ เวลานี้แต่เมื่อมันถึงเวลางานนี้จะโดนระบบอัตโนมัติแย่งไปในท้ายที่สุดอยู่ดี

งานจะโดนแย่งไปโดยระบบอัตโนมัติทันทีเมื่อมันทำได้ คิดออกได้ไม่ยากเช่นการว่าจ้างคนมาเปิดประตูโรงแรม โดยแย่งงานไปโดนระบบเปิดประตูอัตโนมัติด้วยการจับการเคลื่อนไหว ยามที่เฝ้าหน้า supermart เพื่อแจกบัตรทั้งหลายแหล่ก็จะโดนระบบกล้องบันทึกอัตโนมัติมาแทนที่ โอเปอร์เรเตอร์ที่ค่อยรับสายโทรศัพท์และส่งต่อไปยังโทรศัพท์ภายในประจำโต้ะจะถูกแทนที่ด้วยระบบ voice recognition (ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร) แท้ที่จริงแล้วเรากลับมองเรื่องการแย่งงานมนุษย์ในเชิงที่ว่า เป็นการประหยัดแรง หรือ ทุ่นแรง แล้วเอาคนไปทำงานอย่างอื่นที่สร้างสรรค์กว่านี้อย่ามาทำอะไรที่งี่เง่าอย่างนี้จะดีกว่ามั้ย มุมมองนี้ฟังดูดีและดูเหมือนจะทำให้โลกเรารุดหน้าไปได้เร็วกว่าเดิม เพราะ งานที่เหลือทั้งหมดจะต้องเป็นงานสร้างสรรค์เสียเท่านั้นถ้าไม่อย่างงั้นคุณก็จะต้องได้ค่าแรงที่ต่ำมากๆเพราะมันต่ำกว่าจุดคุ้มทุนต่อการเอาระบบอัตโนมัติเพื่อมาทดแทนเท่านั้นเอง ตรรกความคิดก็จะเหลืออยู่เพียงเท่านี้ที่ว่า เมื่อมันแทนแรงงานคนได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าและเป็นงานที่ไม่ได้สร้างสรรค์อะไร ระบบอัตโนมัติจะเข้ามาแทนที่ทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ยังไงอย่างงั้น

งานที่จะโดนระบบอัตโนมัติแย่งไปอย่าเพิ่งคิดว่าจะต้องเป็นงานที่ดูไม่สร้างสรรค์ใครๆก็ทำได้อย่างนั้นเท่านั้น งานที่จะโดนระบบอัตโนมัติเข้าแย่งอาจจะเป็นได้สำหรับงานอาชีพเฉพาะได้ด้วยเหมือนกัน ถ้าหากว่างานนั้นมีตรรกะในการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และ logic ในการนึกคิดเป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน ผมยกตัวอย่างเช่น การทำบัญชี แม้ว่าผู้ที่บัญชีหรือทำการตรวจสอบได้จะต้องเรียนหรือศึกษามาแต่ในอนาคตคุณค่าหรือมูลค่าความรู้ความสามารถเหล่านั้นจะด้อยถอยค่าลงไปเรื่อยๆตามเวลา เมื่อมีการพัฒนา software หรือระบบ online หรือระบบตัดสินใจใดๆอย่างอัตโนมัติเข้ามาแทนที่ คนที่ไม่รู้เรื่องเหล่านั้นก็ทำได้เอง หรือ การทำบัญชีกระทำไปได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิมอันเนื่องมาจากมีระบบนักบัญชี online ที่ทำงานอย่างอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งอาชีพหมออายุกรรม ที่ทำหน้าที่ในการฟังและวินิจฉัยโรค จะมี logic ในการคิดประเมินหาว่าเป็นโรคอะไรอย่างชัดเจนและเป็นระบบ นั่นก็แปลว่าอีกหน่อยจะมีชุด software ที่ทำหน้าที่แทนคุณหมอได้แบบ online เลือกคำถามพิมพ์อาการอธิบายเอาไว้าแล้วระบบจะบอกว่าต้องไปตรวจอะไรมาเพิ่มเติมเพื่อกรอกคำตอบของคำถามอื่นๆต่อไปและ logic ที่มีความชัดเจนจะออกผลลัพธ์มาเป็นคำตอบเพื่อบอกให้คนไข้(ที่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ แล้วก็ไม่ได้ออกจากบ้านไปไหนยกเว้นไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาล) ระบบก็จะออกยาแล้วคนก็ทำหน้าที่แค่ซื้อยามาทานตามที่ระบบบอกเราให้ทำ แน่นอนว่าระบบนี้จะต้องถูกสร้างจากตรรกความคิดของอาชีพหมอโดยแท้และเชื่อมข้อมูลระหว่างผลการตรวจจากโรงพยาบาลและคลังยาต่างๆว่าจะให้ไปซื้อยาได้จากที่ไหนในรัศมีสามกิโลเมตรเพื่อเอามาทาน แถมยังจะนัดเรามาเข้าเว็ปเพื่อทำการแจ้งความคืบหน้าของอาการอีกว่าดีขึ้นหรือไม่ ทำตัวได้เหมือนคุณหมอคนนึงในท้ายที่สุด ใช่แล้วที่ว่าจริงๆเราไม่ได้ต้องการหมอหรอก เราต้องการที่จะหายจากอาการป่วยโดยใช้ความรู้การวิเคราะห์ที่เหมือนหมอเท่านั้นเอง เพื่อที่จะทำให้เราหายป่วยลงไปได้ หมอที่เป็นมนุษย์ที่ทำหน้าที่นี้เลยก็จะหายไปในท้ายที่สุด แต่หมอเพื่อการพัฒนาสร้างสรรค์จะต้องมากขึ้นแทน นั่นน่ะหละ ก็เหมือนกับแนวคิดเดิมที่ว่า เอาคนไปทำอะไรอย่างอื่นทีสร้างสรรค์กว่าไม่ดีกว่าเหรอ แปลได้อีกนัยหนึ่งก็คือ อาชีพหรือการทำงานที่เคยทำอยู่ ณ ปัจจุบันนี้อนาคตมันจะเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งหมดไปได้หากว่า

มันเป็นงานซ้ำที่น่าเบื่อสำหรับมนุษย์
มันเป็นงานซ้ำที่ผูกติดกับวิชาความรู้จำเพาะ
มันเป็นงานที่กระทำได้ด้วยตรรกะความคิดที่มีรูปแบบที่แน่นอน
มันคุ้มเงินกว่าที่จะใช้ระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

งานต่างๆเหล่านั้นจะโดนลดมูลค่าลงไปเรื่อยๆอันเนื่องมาจากมีคนที่ทำได้ถูกลงไปเรื่อยๆเพื่อต้องสู้กับการแทนที่ได้โดยระบบอัตโนมัติ งานเหล่านั้นจะหายไปในที่สุดของเรื่องราวโลกนี้

ว่าแต่ว่าโลกนี้จะเหลืองานอะไรให้ทำอีก ?
แน่นอนว่างานที่เป็นเงินเดือนจะยังคงอยู่แต่จะเป็นงานที่ออกแนวสร้างสรรค์มากขึ้น สำหรับงานที่ไมสร้างสรรค์ทั้งหลายจะถูกลงไปอีกเท่าที่มันจะคุ้มกว่าการ implement ใช้งานระบบอื่นๆมาแทนที่ คนที่ทำงานสร้างสรรค์เยอะขึ้นแม้มันจะฟังดูดีแต่ว่าแน่นอนว่า การทำอะไรได้เหมือนๆกับเยอะขึ้นนั้นจะทำให้สิ่งๆนั้นถูกลงไปอีก สิ่งที่จะทำให้คนทีทำอะไรได้เหมือนๆกันแต่ได้ราคาไม่เท่ากันก็คือคำประวัติผลงานอันสร้างสรรค์ที่ได้ทำออกมาแล้วหรือการตลาดเพื่อ present ตัวเองเท่านั้น คนที่เหลือที่ได้ทำงานสร้างสรรค์ก็ต้องทำงานโดยโดนระบบเข้าครอกงำไม่ได้คิดและตัดสินใจอะไรเองแต่อย่างใด เช่น การทำงานเหมือนหุ่นยนค์ที่ร้านขายแฮมเบอร์เกอร์ ไม่ต้องพูดถึงว่ากระบวนการจะมีการกำหนดออกมาแล้วว่าต้องทำตามขั้นตอนอย่างไรโดยการดูที่หน้าจอ แม้กระทั่งบทพูดก็มีการกำกับเอาไว้แล้วหากว่ามันมี text ขึ้นมาในสมองคนถ้าทำได้ก็คงทำไปแล้ว เพราะจะได้พูดเหมือนกันไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องใช้สมองและให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารดีที่สุดด้วยการพูดที่น้อยคำและใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุดที่ออกแบบโดยวิศวอุตสาหการบ้าเลือด(แน่นอนว่าจะเป็นงานสร้างสรรค์อย่างหนึ่งเพราะงานนี้ก็ต้องคิดแบบออกแบบกระบวนการโดยการรับข้อมูลประมวลผลแบบไร้รูปแบบและกำหนดทดสอบออกแบบระบบและพัฒนาต่อไป Plan , do , check , act ว่าอย่างนั้นก็ได้) คนที่ได้ประโยชน์จากระบบจริงๆจะกลับกลายเป็นองค์กรใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และคนจะทำงานให้กับองค์กรเหมือนกับหุ่นยนต์ที่เฝ้าหน้าร้านแฮมเบอร์เกอร์ก็จะได้เงินตามเวลาอย่างเหมาะสมที่สุด (น้อยกว่าการ implement auto robot แต่ว่าคนก็มาแย่งงานนี้ทำกัน เพราะทำกันได้ไม่ยาก แน่นอนว่ามันจะน้อยเท่าแรงงานขั้นต่ำ หรือ ต่ำกว่านั้นได้อีกถ้าหากว่ากฏหมายไม่ได้กำหนดอะไรเอาไว้เลย) คนที่ทำงาน office ที่เป็นงานซ้ำก็ได้เงินต่อเวลาเหมือนกันแต่ว่าฟังดูอาจจะเยอะกว่าหน่อยแต่ก็ไม่ได้มากมายอะไรแล้วก็ใช้ชีวิตกับเงินเหล่านั้นไปเรื่อย แล้วถ้าหากว่ามีเงินเหลือทางเลือกที่ฉลาดก็คือการลงทุนกับองค์กรหรือระบบใหญ่ที่ตัวเองคิดว่ากิจการน่าจะไปได้สวยก็เท่านั้น

สังคมโดยรวมจะไม่ได้รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงนี้แม้แต่น้อยเพราะเรื่องแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นเป็นค่อยเป็นค่อยไปที่สุดโดยไม่มีคนไปนึกถึงภาพกว้างๆอย่างนี้ (เหมือนกับว่าไม่รู้จะนึกออกได้ยังไง หรือ ไม่รู้ก็อาจจะเห็นได้ว่าไม่รู้ว่าจะนึกไปทำไม) แต่คนก็จะรับมันได้แล้วก็ชินกับมันไปในที่สุด พวกหนึ่งจะทำงานเพื่อออกแบบสร้างระบบ สร้างสรรค์ศิลปะ ออกแบบ product และวิธีการทำงานใหม่ๆ เพื่อให้เร็วสะดวก เพื่อให้ทดแทนคนได้มากกว่าเดิม ได้เร็วได้ดีกว่าเดิม และทำให้เส้นคุ้มทุนเมื่อเทียบกับแรงงานมนุษย์ลดหลั่นชั้นเตี้ยลงไปเรื่อยๆ แล้วอีกพวกหนึ่งก็จะเป็นพวกที่ทำงานที่คิดว่าตนเองสร้างสรรค์แต่กลับโดนครอบงำไปด้วยระบบอยู่อย่างรับได้หรือไม่รู้ตัว โลกเราก็ดำเนินไปแล้วก็ปล่อยให้คนที่เห็นแนวทางนี้และหาประโยชน์จากทิศทางการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบของงาน กลั่นอัตประโยชน์(ที่สร้างสรรค์)ออกมาเป็นความมั่งคั่งต่อไป ..  แล้วคุณเองล่ะ เตรียมตัวให้พร้อมกับทิศทางการงานของโลกที่จะเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว ?

Tuesday, August 04, 2009

สงครามระหว่าง “mouse กับเครื่องเขียน”

สงครามระหว่างเครื่องเขียนกับ mouse “เริ่มขึ้นแล้ว”

Dimensión 2.5 - Revolt of the Mouses - Shortfilm from Dimensión 2.5 on Vimeo.

Monday, August 03, 2009

เห็นตำตาว่าหมีก็แก้ปัญหาตรงหน้ากันยังไง?

“การแก้ปัญหาตรงหน้า” เป็นปัญหาแนวความคิดที่เรื้อรังออกไปอย่างไร้ขีดจำกัด หากคนเราไม่ได้รับการพัฒนาหรือสำเนียกรู้ว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นตอของปัญหาแม้แต่น้อย แต่กลับเรียกการแก้ปัญหานั้นว่า “การแก้ปัญหา” ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมันไม่ใช่อย่างร้ายแรงที่สุด

นี่เป็นหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหาตรงหน้าของปัญหาโลกร้อนที่หมีขาวจะต้องเผจิญเพราะโลกร้อนขึ้นทำให้ temperature @ ขั้วโลกนั้นสูงมากขึ้น ผมก็ว่าปัญหาแบบนี้มันใหญ่เกินกว่าที่หมีจะแก้เองได้น่ะครับ อย่างน้อยที่สุดหมีก็ทำได้ประมาณนี้ครับผม

มีแนวคิดและการอธิบายที่คล้ายคลึงกันไม่นานหลังจากผมพิมพ์เนื้อความเอาไว้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาตรงหน้า อ่านได้จากที่นี่ครับ ซึ่งเป็นที่มีของ clip นี้ด้วยครับ

อ่าน concept และแนวคิดพร้อมคำอธิบายเกี่ยวกับปัญหาตรงหน้าได้ที่นี่ครับ