Monday, January 05, 2009

สรุปความอ่าน Increase your Financial IQ แล้วได้อะไรยังไงมั่ง?

ผมอ่านหนังสือเรื่อง "พ่อรวยสอนปลุกอัจฉริยภาพทางการเงิน" (Increase your Financial IQ) แล้วจบเล่มปุ้บก็มาลองพิมพ์ดูว่า จำอะไรหรือว่ารู้อะไรเพิ่มเติมจาก ตาโรเบริ์ต ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ออกมาน่ะครับ

คิดๆ ... อืม ... ได้ไม่มากเท่าไหร่ครับ เพราะถ้าหากว่า เคยอ่านเรื่องพ่อรวยสอนลูกมาแล้ว .. มันก็ไม่ได้อะไรแปลกใหม่หรือเป็น concept ใหม่อะไรมากนัก หนังสือเล่มนี้เหมือนกับว่าจะแต่งแค่ไม่นานมากนักแล้วก็ออกพิมพ์ทันทีเพื่อแปลงเป็น ทรัพย์สิน เพื่อสร้างรายได้ ในอนาคตของ Robert เค้าเองน่ะหละแล้วก็เพื่อเอาไป promote สินค้าอื่นๆ ของเค้าไม่ว่าจะเป็น เกมส์กระแสเงินสด หรือหนังสือเล่มอื่นๆของเค้าก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีสำหรับคนที่ฉลาดทางการตลาดอยู่แล้ว เค้าไม่ได้ผิดอะไรหรอกครับ แต่ว่านั่นก็แปลว่าคุณก็ซื้อหนังสือเล่มนี้มาก็เป็นการซื้อ ads มาด้วยส่วนหนึ่งครับผม (ก็เหมือนกับตอนที่เราซื้อ magazine นั่นหละครับ)

โดยรวมแล้วสิ่งที่ต้องการจะสื่อก็คือว่า ตัวเค้าไม่อยากจะอยู่ในสภาพของคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่ามาตราฐาน(มันไม่มีมาตราฐานอะไรจริงๆหรอก) สำหรับตัวเขาเท่านั้น ซึ่งแต่ละคนผมก็ว่ามันก็น่าจะมีมาตราฐานสำหรับการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนแตกต่างกันไป เรียกง่ายๆว่า ความพอใจ ในการดำเนินและใช้ชีวิตเสียมากกว่าครับ ตา Roburt เหมือนจะผ่านประสบการณ์ที่เกิดความกดดันในชีวิตมาได้หลายเรื่องหลายราว แล้วเค้ากระตุ้นตัวเองเพื่อให้หลุดพ้นจากปัญหาเหล่านั้น เหมือนกับว่าเรื่องการเจอปัญหาเป็นเรือ่งปกติ ซึ่งนั้นก็เป็น เรื่องปกติจริงๆครับ สำหรับการใช้ชีวิตเพื่อให้เกิดความหวือหวาสนุกสนานเดือดร้อนและกดดัน พลุ่งพล่านไปกับอารมณ์ความตื่นเต้นที่ได้เจอะเจอมากอันเนื่องมาจากการลงทุนครับ เค้ามองว่าสิ่งนี้เป็นความตื่นเต้นซะมากกว่า เหมือนในใจบอกตัวเองได้ว่า ปัญหามันเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นก็ตื่นเต้นไปกับมันจะได้สนุก แล้วดูท่าทางว่าเค้าก็คิดแบบนั้นจริงๆน่ะหละ

ความพอเพียงของเค้าก็คือการได้ใช้ชีวิตที่หรูหราเป็นแรงขับซึ่งมองแล้วอาจจะแปลกๆขัดๆกับความรู้สึกของคนเมืองพุทธสักกะหน่อยที่บอกว่า เราควรพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่มีอยู่ แต่ว่าให้มาตามหา นิพพานกันจะได้บุญกว่า .. พุทธบอกว่า ทุกข์สุขอยู่ที่ใจจริงๆ แต่ตาโรเบริ์ตเค้าก็ดูเหมือนจะรู้เรื่องนี้อยู่ว่า ทุกข์สุขอยู่ที่ใจ แต่เค้าจะไม่อยู่ในสภาพที่ในสายตาเห็นว่ามันเป็นสภาพการใช้ชีวิตที่ต่ำกว่ามาตราฐาน(สำหรับเค้า)

ตาโรเบิร์ตให้มุมมองต่อการเป็นหนี้ที่แปลกออกไป และเรียกสิ่งนั้นว่า พลังทวี ซึ่งฟังดูดีเอามากๆ ยกตัวอย่างเช่น หากว่าเราเอาเงินคนอื่นมาลงทุนโดยการกู้(เพราะเราหาทางอื่นไม่ได้แล้วไม่ว่าจากพ่อแม่เพื่อนฝูงเพื่อให้ไม่มีดอกเลยจะดีกว่า)แล้วก็เอาไปลงทุนอะไรก็ได้ที่ "ควบคุมได้" แล้วหักจบลบหนี้แล้ว ได้กำไรต่อเวลามา กำไรนั้น คือพลังทวีระดับ infinite ตรงข้ามกับการเอาเงินตัวเองทั้งหมดไปลงทุนแล้วได้กำไรมา 1 หน่วยที่เท่ากัน แต่ว่าพลังทวี คือ 1 ต่อ 1 เท่านั้น (เพราะไม่มีสัดส่วนของเงินคนอื่นอยู่เลย OPM : Other people money) นั้นก็มีการอธิบายว่า คนที่ใช้เงินคนอื่นจะ Financial IQ มากกว่า (ในหัวข้อเฉพาะพลังทวี) ผมว่าเรื่องนี้มันสะท้อนความจริงที่ดีอย่างหนึ่งคือว่า ถ้าคุณเป็นคนที่มีความสามารถฉลาดทางเงินแล้ว การทำงานบริหารเงิน งาน ธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ หากก้อนลงทุนมันกว้างกว่า มันก็เป็นตัวคูณที่สูงกว่าอยู่แล้ว ไม่ต้องคิดมากอะไรเพราะมันก็เหนื่อยเท่าๆกันระหว่างการเป็นหนี้ร้อยล้าน กับการเป็นหนี้พันล้าน (ผมก็เคยคิดแนวนี้อยู่เหมือนกันว่าการเป็นหนี้นั้นเป็นสิ่งที่ดีแน่นอนหากว่าคนจัดการสามารถสร้างผลกำไรงอกเงยออกมาได้ดว้ย % ที่เท่าๆกัน) เรียกง่ายๆว่า Think Big เป็นแนวคิดเดียวกันกับเรื่องพลังทวีนี้นั่นเอง

จริงๆแล้วพลังทวี ถ้าคนอ่านปกติจะคิดว่าต้องกู้เพื่อให้ได้พลังทวี แต่สำหรับผมแล้ว ผมว่าน่าจะเน้นที่ "เงินคนอื่น" จะดีกว่าการกู้ (แต่ว่า case ที่เค้ายกตัวอย่างมาเป็นการกู้น่ะครับ) เพราะ โดยหลักการแล้ว การขอเงินจากคนอื่นที่ไม่ต้องจ่ายดอกนั้นย่อมดีกว่าขอจากคนที่ต้องจ่ายดอก เพราะฉะนั้นการกู้จาก bank จะเป็นทางเลือกหลังๆ โดยดูว่าต้องจ่ายกลับไปเท่าไหร่ต่อเวลามากกว่าประเด็นอื่นๆ ครับ

ความฉลาดทางการเงิน ตาโรเบริ์ต แบ่งออกมาได้เป็นข้อๆ โดยเริ่มประเด็น คิดแบบไม่ยาก common sense สุดๆ คือ

หาเงินให้ได้มากขึ้น
จ่ายออกไปให้น้อยลง(ในหนังสือเรียกว่า ปกป้องเงินที่หามาได้)
จัดทำงบประมาณ
สร้างพลังทวี
จัดการกับข้อมูลข่าวสารทางการเงิน

การหาเงินให้ได้มากขึ้น เน้นหนักไปที่การแก้ปัญหา ไม่ได้แก้ปัญหาตัวเองหรอกครับ แก้ให้คนอื่นต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาอะไรก็ตามที่มีอยู่แล้วล้านแปด หรือว่าปัญหาที่มันไม่เคยมีมาก่อน แต่ว่าก็ทำให้มันเป็นปัญหาได้ไม่ยาก (เหืมอนที่ผมเคยรู้ว่า แต่ก่อนน้ำยาบ้วนปากหรืออาการปากเหม็นมันไม่ได้เป็นปัญหาหรอก แต่ ads ของน้ำยาบ้วนปากก็ทำให้มัเป้นปัญหาซะงั้นน่ะ) หา solution มาเพื่อแก้ปัญหา มันเป็นการหาเงินได้ให้เพิ่มมากขึ้นครับ สำหรับคนเขียนเค้าบอกว่า ภรรยาเค้าแก้ปัญหาให้คนที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่ดีได้ในราคาที่ต่ำกว่าการซื้อนั่นก็คือการเช่า แล้วให้ค่าเช่า refresh ค่าเงินต่อเวลาออกมาเอง แล้วเอาไปจ่าย costing ทั้งหลายครับ

ปกป้องเงินที่หามาได้ เล่าถึงว่า เงินมันออกจากกระเป๋าไปได้ยังไงแบบไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นการหลุดออกไปจากระบบภาษี หรือ ระบบตัดเงินเพื่อเตรียมแก่ ที่เก็บจากลูกจ้างและนายจ้างไปก่อน หรือ แม้กระทั่งแนวคิดแบบสุดโต่ง(แต่ว่าสำคัญ) คือ การเอาเงินออกไปจากคู่รัก(แฟน หรือว่าไม่ได้รักกันจริง หรือรักกันจริงแต่ตอนหลังไม่ได้รักกันแล้ว) ก็ต้องระวังเอาไว้ เหมือนกับว่าเรื่องการเงินก็ต้องมีแผนการ A และ แผน B เอาไว้แล้วเช่นเดียวกัน แยกเงินแยกอะไรกันไว้ให้พร้อมแยกทางกันว่าอย่างงั้น ผมว่าคิดแบบนี้เป็นการคิดของคนฉลาด เพราะมีการอ้างอิงสัดส่วนการหย่าร้างที่สูงมากของพวกฝรั่งมังค่าว่า มีถึง 50 50 แต่ว่าผมว่าไทยไม่น่าจะถึงนะ (เดาเอา) concept อีกประเด็นที่สำคัญก็คือ เมื่อเงินเป็นกระแสเงินตรา currency แล้วค่าเงินจะด้อยค่าไป (สำหรับเงิน US Dollar) แต่ว่าของไทยอันนี้คิดว่าน่าจะด้อยน้อยกว่าครับ ไม่น่าจะเหมือนกัน แต่ว่าอยางไรก็ตาม concept ที่เอามาใช้ได้ก็คือ อย่าคิดว่า การลงทุนแล้วตัวเลขทรัพย์สินประเมินมันสูงขึ้น มันไม่ได้แปลว่าคุณมีเงินมากขึ้นแต่อย่างใด แต่มันอาจจะเป็นเพราะว่าเงินมันด้อยค่าลงไปก็ได้ ตัวเลขที่เห็นมันก็แค่สะท้อนที่ทรัพย์สินอันนั้นมันยังมีมูลค่าประมาณเดิมด้วยตัวเลขใหม่ที่ดูเหมือนเยอะขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่งส่วนตัวแล้วผมก็ตีความเป็นลักษณะของเงินเฟ้อนั่นหละ สมมุติว่าคุณได้เงินเดือนมาแล้วคุณด้วยอัตราเงินเฟ้อ ออกมาเป็นตัวเลขใหม่ นั่นก็แปลว่ามูลค่าตัวคุณไม่ได้เพิ่มต่อบริษัทเอาซะเลย (หรือว่าเพิ่มแต่ว่าแน่นอนว่าบริษัทใดๆ จะต้องขูดเลือดเนื้อการทำงานและผลงานที่มีมูลค่าเป็นอย่างน้อยสิบเท่าของเงินที่จ่ายไป ไม่อย่างงั้นบริษัทก็อยู่ไม่ได้ต้องออกจากธุรกิจไปครับ หรือในทางกลับกันถ้าหากว่าคุณเป็นลูกจ้างก็ต้องรู้เอาไว้ว่า มันเป็นนโยบายแบบทีไม่ต้องแจ้งแถลงไขอะไรว่าคุณต้องทำงานเพื่อให้ได้มูลค่าออกมาเป็นสิบเท่า เพื่อให้ถึงจุด optimal ของการว่าจ้าง แหม .. แต่ว่ามันเหนื่อยอยู่หรอกนะกับสิบเท่าเนียะ แต่ว่าได้เงินเท่าเดียว เฮอะๆ เข้าใจๆ )

การจ่ายเงินออกไปนั้นอาจจะต้องเริ่มคิดว่า "เอ .. ไปสินค้าหรือว่าบริการที่ซื้อเนียะมันทำให้รวยขึ้นเหรอป่าวน้า .." ถ้าหากว่าซื้อแล้วจนลง (แล้วจะไม่ซื้อเหรอ เพราะมันสะท้อนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่ต่ำกว่ามาตราฐานของนายโรเบริ์ตอยู่ . เหมือนจะขัดๆกันยังไงไม่รู้) แต่ที่แน่ๆหากว่าการซื้อนั้นมีแนวโน้มว่าจะทำให้รวยขึ้นก็น่าจะซื้อเอาไว้ เช่น หนังสือ สมาชิก online ราคาทอง ( ผมเคยหาแล้ว ถ้าเป็นของฟรีเนียะไม่ได้เรืองไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้ว่าของเสียเงินรายเดือนมันจะได้เรื่องเหรอป่าว) เป็นต้น

จัดทำงบประมาณ เหมือนกับเป็นการแบ่งเงินรายได้จ่ายตัวเองก่อนที่จะจ่ายคนอื่น แล้วเอาความเดือดร้อนที่จะต้องจ่ายคนอื่นถ้าหากว่าไม่ครบมาเป็นแรงกดดันเพื่อที่จะรักษามาตราฐานความเป็นอยู่ให้เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมให้ได้ การจ่ายให้กับตัวเอง เค้าก็จะเอาเงินก้อนนั้นไปลงทุนย้ายไปส่วนใดๆที่เป็นทรัพย์สิน (เพื่อสร้างรายได้ต่อไป ) เค้าว่าเค้าทำแบบนั้นน่ะนะ .. เค้าจะไม่เลือกที่จะลดมาตราฐานการดำเนินชีวิตของเขาหรอก แต่ว่าเลือกที่จะกดดันเพื่อเพิ่มหารายได้มากกว่า แน่ล่ะครับ เป็นวิธีการกดดันที่รุนแรงดีมากเอาการครับ เรียกว่าทุบหม้อข้าวกันเลยครับนั่น แนะนำทำอยู่น่ะครับสำหรับคนที่มีไฟจริง (แหมแต่ก็อีกล่ะจะทำให้ได้ก็ต้องมีไฟน่ะหละครับ)

สร้างพลังทวี ผมก็เล่าไปแล้วน่ะครับก็คือทำตัวคูณรายได้เยอะๆ โดยใช้เงินคนอื่นให้มากที่สุด แล้วเอาเงินตัวเองไปขยายทำอย่างอื่น ที่สร้างรายได้จากการลงทุนอื่นๆอีก .. มีการ refinance ของอสังหาริมทรัพย์ (กรณีตัวอย่าง) เพื่อที่จะเอาเงินตัวเองออกมาให้หมด แล้วให้เงินค่าเช่า โปะดอกจากกการกู้ จ่าย costing แล้วเหลือเอาเงินเก็บเข้าตัวได้โดยสมบูรณ์ไม่มีเงินตัวเองเข้ามาเกี่ยวอีกต่อไป เกี่ยวแค่ตอนที่มันเป็นรายรับเข้ากระเป๋าเท่านั้นโห .. ทำได้อย่างงั้นนี่ก็เรียกว่า พลังทวีระบบ infinite

จัดการกับข้อมูลข่าวสารการเงิน การคิดแบบนี้จะต้องรู้ก่อนว่า ข้อมูลที่ลอยคว้างอยู่นี่ไม่ว่าจะ online หรือว่า offline มันมีข้อมูลแบบความคิดเห็น และ ข้อเท็จจริง ผมว่าเราแยกแยะออกได้ไม่ยาก แลวแยกได้แล้วทำไม ข้อเท็จจริง เราก็ต้องเอามาคิดเพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นที่เป็นแนวโน้ม(เป็นสิ่งที่ทำกันอยู่แล้วสำหรับพวกเล่นทองเล่นหุ้นเสี่ยงกับกราฟ ที่ตัวเองไม่มีอำนาจควบคุมใดๆยกเว้นสั่งซื้อและขายเท่านั้น ผมลืมเล่าเรื่องการควบคุมไป มันก็คือ การกำหนดได้ว่าจะเอารายได้เท่าไหร่ (กรณีตัวอย่างคือกำหนดค่าเช่า) รายจ่ายเท่าไหร่ costing ต้นทุนการบริหาร เป็นต้น สังเกตมันควบคุมได้เพิ่มขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ทั้งๆที่จริงแล้วยังมีส่วนที่ควบคุมไม่ได้อีก แต่ว่าหนังสือไม่ได้เล่าว่าถึงแม้ว่ามันจะควบคุมได้อย่างงั้นจริงๆ มันก็มีสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ปะปนกันมาอยู่แล้ว เช่นค่าเช่าที่เค้ายกตัวอย่างควบคุมได้ แต่ผมยกตัวอย่าง ปัจจับที่คุมไม่ได้ที่กระทบต่อการกำหนดราคาค่าเช่าที่คิดว่าควบคุมได้ เช่น บ้านถูก คนซื้อเป็นบ้านมาอยู่กัน คนรวยเยอะกว่าเดิม เป็นต้น ฟังดูไม่ make sense เท่าไหร่แต่ว่านั่นหละมันอย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่คุมไมได้ถ้ามันจะเป็นอย่างงั้น ไม่อย่างงั้นทักษิณคงไม่อยากควบคุมในสิ่งที่คนปกติคุมไม่ได้หรอก เกี่ยวกันเหรอป่าวน้า . .) การรู้ข่าววงใน หรือเป็นคนวงในให้ได้ (แอ้ะนี่ผมก็คิดถึงเรื่องตอนเงินบาทแข็งค่า แหม ถ้าหากว่าผมรู้ว่าจะการก้าวกระโดดของเงินไทยต่อ USD เนียะนะ .. แหม แต่ก็อีกก็มีคนในที่รู้ได้เงินไปนับไม่ถ้วนอีกน่ะหละ ความจริง ก็คือ insider อย่างไรก็ดีกว่าพวกที่อยู่นอกวงโคจรวันยังค่ำ ความจริงที่ต้องยอมรับล่ะนะ ) รู้ข่าวที่เกี่ยวข้องให้มาก แยกแยะและประมวลออกเพื่อสรุปเป็นความคิดของตัวเองอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเชื่อมันไปก่อน (เพราะก็อีก ถ้าหากว่าเป้นความคิดเห็นปุ้บมันไม่ถูกเสมอหรอก)

มีเรื่องแปลกใจที่ได้จากการอ่านก็คือ(เป็นเรื่องที่ไม่ได้เคยคิดแบบนี้มาก่อน) การออม เก็บเงินเป็นรูปเงินไม่ใช่เรื่องฉลาด แต่ว่าต้องเอามาวางเป็นรูปทรัพย์สินที่อย่างน้อยมันก็ต้องคงค่าเอาไว้หรือขยายค่าได้ด้วยตัวของมันเอง จะดีกว่า การเอาเงินไปซื้อกองทุนรวมๆให้คนอื่นบริหาร เป็นการเพิ่มความเสี่ยงเพราะ ควบคุมไม่ได้ หรือ เราเสียโอกาสที่จะฉลาดทางการเงินเพิ่มขึ้น (หากว่ามันไปเจอเรื่องไม่ดีเข้าก็จะได้ฉลาดกว่าเดิม แต่ว่าที่แน่ๆคือเอาไปให้คนอื่นควบคุมให้ เค้าไม่ได้คิดหรอกว่าเป็นเงินเค้า สิ่งที่เค้าตอ้งทำก็คือ เอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองให้ได้มากที่สุด ) การลงทุนมักคิดด้วยระบบ model ที่สร้างจากคนที่ฉลาดทางตรรกะที่สุด แน่นอนว่าทุกคนใช้เหมือนกับ ทำให้โลกเราเจ้งไป ความคิดเห็นนี้เป็นความคิดเห็นเดียวกับ คนแต่งเรื่อง fooled by randomness (นักสถิติ) ที่อธิบายเอาไว้เหมือนกันว่า สถิติปัญญาอ่อนเนี่ยะมันใช้กับสิ่งนี้ไม่ได้หรอก (ผมอ่านบทสรุปแล้วมันมีเหตุผลของมันที่ใช้ได้ทีเดียว) ราคาทองมีราคาเดียวทั่วโลก (อันนี้เป็นความรู้ซ้ำจากการสัมนา เค้าก็บอกผมแบบนี้เหมือนกันว่า โลกเรามีราคาทองราคาเดียว ณ เวลาหนึ่งๆ) โลหะอื่นๆที่น่าสนใจคือ โลหะเงิน .. แล้วก็คนที่เรียนเก่งหากว่าไม่ได้กล้าเสี่ยงทำอะไรเค้าก็จะมีแนวคิดที่ปลอดภัย ทำงานให้กับคนที่ได้เกรดซี เป็นอย่างต่ำ .. เกรดโรงเรียนไม่ได้เป็นตัวแปรเพื่อขอกู้กับ bank ได้เลย แต่ว่าเป็นอย่างอื่นที่เกี่ยวกับความสามารถทางการเงินต่างหาก . .อืม .. น่าคิด ๆแต่ประเด็นนี้ผมรู้มานานแล้วว่าการเรียนมันก็แค่ train ความสามารถในการเรียนต่างหาก ทำให้รู้ได้ว่า เราเรียนรู้ได้ดีแค่ไหนมันก็เท่านั้น .. พวกที่ได้เกรดเอ เนี่ยะ พวกนี้เค้าเรียนรู้ได้ไวแตกฉานได้เร็ว นั้นก็แปลว่า ถ้าหากว่าเค้าคิดแบบพวกเกรดซีที่ต้องเสี่ยงเพื่อที่จะได้เงินรวยขึ้นมา โอกาสที่จะไปได้แรงหากเรียนรู้เหมือนกันแล้ว IQ มันก็จะเริ่มมีผลอย่างแน่นอน แต่ว่าแย่หน่อยที่ระบบการเรียนปกติมันไม่ได้สอนกับให้คิดเกี่ยวกับการเงิน หรือการดำเนินชีวิตอย่างงั้นสักเท่าไหร่เนาะ .. (สำหรับภาษาไทยนะ ไม่ค่อยเห็น ) แต่ว่าถ้าเป็น ภาษาอังกฤษแล้วเนียะ ผมว่า คนที่รักการอ่านยังไงๆ ก็จะต้องรู้เรื่องพวกนี้แน่ๆ อีกประเด็นก็คือ แนวคิดหลายๆประเด็นที่มีในหนังสือ จะถูกถ่ายทอดผ่านพวกที่ทำ MLM มาแล้ว(นั่นก็แปลว่าคุณเข้าไปคลุกกับ MLM แล้วจะทำให้ financial IQ มากขึ้นได้ไม่ยาก) ที่รู้เพราะว่าไปคลุกมาด้วยเหมือนกัน เฮอะๆ

"มีช่องว่างระหว่างการรู้ กับการทำ" เพราะคนเราขี้เกียจน่ะหละ . .ไม่ใช่อะไรหรอก ..

ประเด็นอื่นๆผมว่าคงเขียนเอาไว้ไม่ครบหรอกแต่ว่า สำหรับคนที่ไม่เคยอ่านหนังสือตระกูลเล่มม่วงอ่านสักเล่มก็จะทำให้คุณคิดไปอีกแบบ แล้วมันจะเป็นประโยชน์มากเลยหากว่าคุณไม่เคยคิดอะไรแบบนี้มาก่อน แต่มันจะไม่ได้เป็นเรื่องทีมีประโยชน์อะไรหากว่าคุณเป็นคนที่คิดแบบนี้อยู่แล้วเนียะ . .( ก็ต้องจริงอยู่แล้ว แล้วจะพูดทำไมเนี่ยะเรา ) .. เฮ้อ ..

ดีเหมือนกันน่ะครับ ผมอ่านแล้วปกติไม่ได้เคยมา recap ว่าผมได้อะไรจากการอ่านเลย ได้แค่นั่งนึกผมว่าผมเสียเวลาสัก 1/2 hrs แบบนี้มาพิมพ์ก็น่าจะดีน่ะครับ อย่างน้อยผมก็จะได้ซับมันได้แรงกว่าเดิม แรงกว่านั่งนึกเฉยๆ น่ะครับ

No comments: