Tuesday, January 13, 2009

วิธีหาขูดเงินออกจากกระเป๋ากับแนวคิดการตั้งราคาของร้านโชคชัยสเต้กเฮ้าส์

 
 
 
 
ตอนที่เดินทางกลับบ้านหลายครั้งที่หิวระหว่างทาง ผมเดินทางจากโรงงานที่สระบุรีแล้วก็เข้ามาที่กทม เพราะว่าบ้านพักอยู่ที่กทมแต่ว่าก็ต้องดูงานที่โรงงาน อืม อ่านแล้วไม่น่าจะงงอะไรนะครับ ก็วันไหนหิวผมก็แวะไปกินร้านสเต้กโชคชัย เพราะมากับนายทุน (คุณพ่อผมเอง) เป็นประจำ แต่ว่าผมเนี่ยะก็ไม่ได้สั่งอะไรที่มันมีราคาหรูหรานักหรอกเพราะว่า มันไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องกินอะไรที่แพงเท่าไหรน่ะครับ แล้วแนวคิดของการตั้งราคาขายสำหรับร้านนี้เหมือนว่าจะเป็นอาการแบบ starbuck ครับ คือ ออกมาแนวที่ถ้าหากว่าคุณมีเงินจ่ายเท่าไหร่หรอืว่าคุณพอใจที่จะจ่ายเท่าไหร่ คุณก็น่าจะเลือกรายการอาหารที่มีราคาเท่าที่คุณพอใจจะจ่ายครับ หมายความว่า ราคาที่แสดงที่หน้าเมนูไม่ได้สะท้อนถึงราคาที่มาจากต้นทุนสักเท่าไหร่นัก เพราะอะไรน่ะเหรอครับ สังเกตได้ว่าเนื้อที่ผ่านการ aging หรือเรียกง่ายๆว่าเก็บเอาไว้ที่ห้องเย็นให้นานกว่าเดิม มันก็ไม่ได้เป็นเพิ่มต้นทุนสำหรับทางร้านอาหารเท่าไหร่ แต่ว่าคนซื้อเนี่ยะ จะต้องเสียเงินไม่เท่ากันอย่างแน่แท้ แล้วก็คนซื้อก็ไม่ได้รับรู้สักเท่าไหร่ด้วยว่าของมันดีกว่ากันมากมายนักสมราคาที่จะต้องจ่ายเพิ่มเติมเข้าไปอีกหรือไม่อย่างไร เพราะฉะนั้นคนที่คิดจะเลือกเมนูก็จะเหลือแนวคิดแค่ว่า อืม .. วันนี้เรามีเงินเท่านี้แล้วก็พอใจจ่ายเท่านี้สำหรับอาหารมื้อนี้ก็จะเลือกอาหารรายการนั้นๆที่มีราคาเหมาะสมกับที่อยากจะจ่าย หรือมองกลับกันทางร้านอาหารก็จะได้ประโยชน์เชิงว่า เค้าก็จะได้ขูดเงินออกมาจากกระเป๋าสำหรับคนที่พอใจจะจ่ายได้มากที่สุดเท่าที่จะมากด้วยวิธีการตั้งราคาให้มี range ที่กว้างแตกต่างกันออกไปมากๆ (แบบไม่ต้องพิจารณาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อย) ไม่รู้ว่าผมคิดถูกหรือผิดยังไง แต่ว่าผมคิดอย่างงี้น่ะครับ ใครมีความเห็นอะไรอื่นก็เม้นท์กันได้น่ะครับไม่ว่ากัน เม้นท์ได้นะครับผม ^_^

No comments: