มีหลายๆแนวคิดที่ผมได้จากการอ่านและฟังสัมนาที่อาจจะบอกคนอื่นต่อไป แม้ว่าแนวคิดเหล่านี้จะเป็นแนวคิดที่อาจจะไม่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด แต่ก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ผมไม่ได้พิมพ์เอาไว้ที่นี่เพื่อให้คุณเชื่อทุกอย่างที่เขียนบอกนี้ แค่อยากจะบอกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นน่าคิดที่อย่างน้อยความคิดเหล่านี้ควรจะไหลผ่านหัวไปบ้างเผื่อว่าวันไหนจะได้หวนระลึกหรือประยุกต์คิดต่อยอดต่อไปได้
1. ประเทศที่เจริญแล้วจะไม่อยากทำการผลิตอะไรที่เป็นอุตสาหกรรม และใช้แรงงานเพราะแรงงานเหล่านั้นมีมูลค่ามากกว่าประเทศที่ยังไม่พัฒนา แนวคิดแบบนี้อาจจะเป็นเหมือนกับการดูถูกคนของประเทศที่ยังไม่เจริญอยู่เสียหน่อยแต่ว่า นี่ก็เป็นแค่เรื่องปกติสำหรับการผลิตที่ต้องการใช้จ่ายเงินที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อการผลิตสินค้าที่เหมือนๆกันหรือว่าใครๆก็ทำกันได้
2. สินค้าใดๆไม่ว่าใครๆก็ทำกันได้ถ้าหากว่ารู้จักหาว่าจะเอาวิธีการนั้นมาได้อย่างไร เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ประเทศจีนสามารถที่จะผลิตดอะไรก็ได้ แม้ว่าประเทศอื่นๆจะเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีออกมา ไม่ใช่ประเทศจีน แต่ประเทศจีนต่างหากที่ทำหน้าที่ตามข้อ 1 ที่ว่าเอาไว้ก็คือ ทำให้มันผลิตได้ด้วยราคาที่ต่ำ (ซึ่งเป็นความสามารถพิเศษของคนจีนที่อยู่ในประเทศจีนนั่นเอง ) Know-how ในการผลิตสามารถที่จะเรียนรู้และตามกันได้ด้วยระยะเวลาไม่นานนัก โดยการเอาความรู้จาก Supplier เอาความรู้จากคู่ค้าที่มีอยู่เดิม หรือแม้กระทั่งเอาจากพนักงานของโรงงานผลิตที่เคยทำงานในสายการผลิตนั้นๆมาแล้ว (คำว่าพนักงานไม่ใช่แค่หมายความถึงพนักงานในสายการผลิตเท่านั้นแต่รวมถึงผู้จัดการ คนที่อยู่ในโรงงาน แม่บ้าน และอื่นๆที่พอจะทำให้รู้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อที่จะทำการผลิตสิ่งของหรือสินค้านั้นๆออกมาได้ ) วิธีการแกะสินค้ายังมีอีกวิธีที่นิยมทำกันก็คือ การซื้อสินค้ารนั้นๆมาจากหน้าร้าน (ไม่ว่าจะวางขายที่ไหนก็ตาม) เอามาแล้วก็ถอดแบบมันเสีย หรือ กรณีที่แย่ที่สุดก็คือ หาคนในองค์กรของตัวเองพยายามอย่างสุดแรงเพื่อที่จะทำสินค้าให้เหมือนหรือดีกว่าด้วยความรู้และการทดสอบ trial and error ไปเรื่อยๆ (เชิง C&D concept )
3. มูลค่าในการผลิตลดน้อยลงอันเนื่องมาจากเหตุผลข้อที่ 2 ทำให้มูลค่าแท้จริงที่เหลืออยู่ที่ความสามารถในการกระจายสินค้า ความหมายที่อยากจะบอกไม่ได้แค่กระจายเท่านั้น มันหมายรวมถึงการมีฐานลูกค้าอยู่แล้ว การมีลูกค้าที่ซื้อหาสินค้าเหล่านั้นเป็นประจำ เป็นเครือข่ายหรือโครงข่ายที่ถาวร และคนอื่นแย่งเอาไปได้ยาก ถ้าหากว่าเป็นสินค้าเชิงบริโภค ก็จะเรียกว่าเป็นเครือข่ายผู้บริโภค ถ้าหากว่าเป็นสินค้าที่เป็น B2B ก็จะไม่มีนิยามหรือคำให้เรียกกัน ถ้าอยากจะเรียกด้วยคำที่ใกล้เคียงมากที่สุด จะเรียกว่า ฐานลูกค้า ก็ได้
4. การดึงดูดลูกค้าเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าอาจจะกระทำได้สองทางคือ การเพิ่มโดยการเดินเข้าไปหากลุ่มลูกค้าใหม่ หรือ การรอให้กลุ่มลูกค้าเข้ามาหา ทั้งสองวิธีการเป็นการเพิ่มลูกค้าเชิงรุกทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มโดยการเดินเข้าไปหา กล่าวคือ ถ้าหากว่าลูกค้าอยู่ที่ไหนเราเดินเข้าไปที่นั่นก็จะมีโอกาสได้ลูกค้าเพิ่มเข้าในฐานลูกค้า หรือ ในทางตรงกันข้ามถ้าหากว่ามีทำเลใดๆเพื่อเป็นการเรียกให้ลูกค้าหลงเข้ามาหาเราได้แล้วมีการซื้อขายเกิดขึ้นได้จริงตามคุณสมบัติของสินค้านั้นเราก็จะเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง
5. ความสามารถที่จำเป็นสำหรับคนทำธุรกิจโลกใหม่ คือ ความสามารถในการสร้างธุรกิจใดๆไม่จำกัดว่าต้องมีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเดิม ด้วยอัตราความล้มเหลว 90% ของธุรกิจใหม่ นั่นก็แปลว่าถ้าหากว่าคุณจะทำอะไรให้มัน success ด้วย่ความสามารถแบบ average แปลว่าคุณจะมีค่า exspected value ของการทำธุรกิจให้สำเร็จได้คือ 1 ครั้งและล้มเหลว 9 ครั้ง คุณอาจจะล้มสาม ล้มสี่ หรือห้าหกเจ็ดก็สุดแล้วแต่สถิติ แปลว่ามันจะมากกว่าหรือน้อยกว่า 10 ครั้งได้เพราะมันเป็นสถิติเท่านั้น กล่าวคือ การเรียนรู้และสร้างระบบงานออกมาได้เร็วในเวลาที่เท่ากันก็จะมีโอกาส"ผ่าน"ที่มากกว่า และการที่คุณจะทำอย่างงั้นได้แปลว่าคุณต้องทำกิจการมากกว่า 1 อย่าง ณ เวลาหนึ่งๆที่ไม่เกี่ยวข้องกันแม้แต่น้อย (น้อยคนนักที่จะทำข้อนี้ได้และคิดแบบนี้ เหตุผล 108 แต่ไม่อยากจะเอามาพิมพ์เก็บไว้ เช่น ความเชือว่าจำเป็นว่าคุณต้องรู้เรื่องที่กำลังจะทำก่อนแล้วจึงทำ แต่คุณคงไม่คิดหรอกว่าคุณเริ่มต้นจากการที่คุณไม่รู้เรื่องใดๆในทุกๆเรื่องนั่นหละ.. และเหตุผลอื่นๆอีกมากมาย พิมพ์ได้อีกเป็นหน้าๆ)
6. กิจการใดๆจำเป็นต้องวางไข่หลายใบในตะกร้าหลายตะกร้า เพราะถ้าหากว่า คุณทำธุรกิจท่องเที่ยวต่อเนื่องกัน เมื่อมีปัจจัยภายนอก (เรื่องอะไรก็สุดแล้วแต่ที่คุณควบคุมมันไม่ได้ ยกเว้นคุณจะเป็นนายกฯ) แล้วมันส่งผลกระทบต่อคุณในทางลบ หรือลบมาก กิจการของคุณทั้งหมดจะโดนกระทบไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด เช่นถ้าหากคุณทำเรือสำราญในกรุงเทพ ทำโรงแรมเล็กๆในกรุงเทพ สองกิจการนี้ผูกกับเรื่องท่องเที่ยวแล้วถ้าหากว่ามีปัจจัยภายนอกที่กระทบการท่องเที่ยวเข้าอย่างจัง ทั้งสองกิจการก็โดนหางเลขไปทั้งหมด และเหตุผลข้อที่ 6 นี้เป็นเหตุว่าทำไมความสามารถในข้อที่ 5 เป็นเรื่องจำเป็นยิ่งนัก
7. คิดให้ดีเสียก่อนว่าธุรกิจที่คุณจะเข้าไปมันไม่ได้เป็นธุรกิจแดงเดือด แน่นอนว่าถ้าหากว่าคุณเป็นคนที่เข้าไปใหม่คุณจะไม่รู้หรอกว่ามันแดงเดือดแค่ไหนหากคุณขาดข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหรือเป็นข้อมูล insight กันจริงๆ มันจะเป็นธุรกิจใหม่ของคุณ(ณเวลานั้น)เสมอ และแนวความคิดของคนที่จะทำธุรกิจย่อม "จำเป็นต้อง" คิดว่ามันจะมีโอกาสเพื่อเป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจของตัวเองเพื่อให้มีแรง(ใจ)พอที่จะเดินหน้าสร้างงานในสายงานใหม่(เฉพาะตัวเอง)นั้น ระหว่างทางจำเป็นต้องคิดทบทวนอยู่ตลอดว่า เหตุผลที่เราจะทำนั้น มันคืออะไรกันแน่แล้วมันได้คุ้มกับเสียหรือไม่ แล้วจะประเมินอย่างไรว่ามันคุ้มแล้ว หรือว่าบอกกับตัวเองได้ว่า "มันไปได้สวย" เรื่องนี้ไม่มีข้อกำหนดตายตัวแต่สิ่งที่สะท้อนออกมาได้ชัดคือ ถ้าหากว่ามันไปได้สวยมันย่อมก่อกำไรทั้งที่แบบมองเห็นหรือแบบที่มองไม่เห็นก็ได้ (ซึ่งแบบที่มองไม่เห็นนี้จะประเมินได้ยากกว่า แต่อาจจะคิดได้อีกแบบก็คือถ้าหากว่า เราจะซื้อกิจการตัวเอง ณ เวลานั้นๆคุณจะยอมจ่ายเงินไปเท่าไหร่ ถ้าหากว่ามันมากกว่าทรัพย์สินรวม ณ เวลานั้นแสดงว่ามันกำไรอยู่เท่านั้นเอง)
8. ธุรกิจต้องเริ่มแบบ "พอเพียง" ความผันผวนของปัจจัยภายนอกทำให้เราประเมินกำลังซื้อไม่ได้ หรือถ้าอยากจะประเมินก็ประเมินได้เป็นแค่เรื่องอุปโลค เพราะคุณไม่มีทางรู้ได้หรอกว่ามันจะเป็นไปอย่างที่คุณคิดอย่างนั้น สิ่งที่ทำได้มากที่สุดก็แค่เพียงทำการศึกษาอย่างจริงจังเท่านั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลประเมินกำลังซื้อ (อัตราการขายได้ของสินค้าหรือบริการเหล่านั้น) เท่านั้นเอง มันจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากถ้าหากว่าคุณเคยอยู่ธุรกิจข้างเคียงมากก่อน เช่นถ้าหากว่าคุณเคยเป็นผู้ซื้อมาก่อน หรือถ้าหากว่าคุณคลุกอยู่ในวงการเหล่านั้นมากก่อน หรือ อาจจะเป็นว่า คุณมั่นใจมากล้นเหลือ จะไม่ต้องทำการประเมินด้วยวิธีการอื่นใดเลยก็ได้เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณรู้ว่า คุณจะลงแรงและลงทุนแบบ "พอเพียง" ได้อย่างไร การเริ่มแบบพอเพียงคือการเริ่มแบบระวังตัวแบบหนึ่ง ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เช่นถ้าหากว่าคุณมีบริษัททีทำกำไรปีละ 500 ล้านอยู่แล้ว แล้วคุณอยากจะลงทุนอะไรบางอย่างด้วยมูลค่า 100 ล้านก็ไม่ได้แปลกอะไรมันขึ้นอยู่กับว่า การประเมิน และ มูลค่าการลงแรง และทุน เท่าไหร่ถึงจะไม่มากเกินไปเท่านั้นเอง เพราะมันจะเป็นการชิมลากถ้าหากว่าคุณรู้ข้อมูลมากขึ้น หรือรู้ว่าเป็นทะเลแดงเดือดสำหรับสินค้าหรือบริการนั้นๆคุณก็จะไม่เจ็บตัวมาก หรือเจ็บในระดับที่ไม่ทำให้คุณเกิดความรำคาญใจเท่าไหร่
9. การคิดและพิมพ์หรือพูดให้คนอื่นได้อ่านได้ฟังทำให้คุณเห็นความคิดที่อยู่ในหัวของคุณชัดเจนมากกว่าเดิม มากเสียจนกระทั่งถูกบันทึกออกมาเป็นตัวอักษรได้ การคิดนั้นเกิดจากการประมวลประสบการณ์สิ่งที่ได้ฟัง ได้เห็นและเรียนรู้มาตลอดชีวิต(เท่าที่อายุคุณจะมีชีวิตอยู่) ซึ่งแต่ละคนจะเห็นไม่เหมือนกันเพราะผ่านเรื่องราวมาไม่เหมือนกัน สิ่งเหล่านี้จะฟอร์มความเป็นตัวตนคุณ ทั้งทางจินตภาพและกายภาพของคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (กายเป็นแค่ส่วนหนึ่งของความคิดเท่านั้น ) และความสามารถในการคิดให้ชัดนี้
10. อย่ากลัวที่จะยิงคำถามแทงใจดำ หลายต่อหลายครั้งการถามให้ตรงเป้าหรือคนอื่นที่ร่วมประชุมคุยได้คิดให้รอบด้านหรือ ทำให้คิดได้ชัดเจนขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญในการฟอร์มความคิดแบบหมู่ คนที่เป็นผู้บริหารจะออกนโยบายในเชิงกว้างได้เท่านั้นแต่คนที่จะต้องสร้างสรรค์สิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้จริงจะต้องถามต่อเพื่อให้เข้าใจในความหมายต่างๆเหล่านั้นให้มากขึ้น การถามอะไรออกไปแบบตรงๆ หรือถามคำถามที่ขัดแย้งความคิดของคนอื่น ณ เวลานั้น เป็นการกระตุ้นความคิดคนอื่นให้คิดให้รอบด้านเท่านั้น เพราะการคิดและพูดออกมามันเป็นแค่การทำให้ภาพความคิดนั้นชัดเจนขึ้นเท่านั้น แต่มันจะเป็นแบบมุมแหลมเข้าไปในภาพความคิด สิ่งที่ขาดมักจะเป็นการขาดความเฝ้าระวังความคิดที่ตนเองยังไม่ได้คิด (ถึงได้มาคุยกับคนอื่นเพื่อเติมเต็มความคิดนั้น) ผู้คิดชงเรื่องต้องพึงสังวรณ์ไว้เสมอว่า ความคิดของตนเองจะไม่มีทางถูกต้องเสมอไปในทุกๆประเด็น ดังนั้นแล้วจำเป็นต้องไม่ยึดติดกับความคิดและความเห็นของตนเอง แต่ต้องกลับพยายามฟังความคิดและถอดรหัสความคำพูดคำจาของคนอื่น เข้ามาผนวกกับความคิดตนเพื่อขยายผลให้ความคิดนั้นเป็นประโยชน์มากกว่าเดิม และพึงเชื่อไว้เสมอว่า ไม่มีใครที่จะคิดถูกต้องและดีที่สุดได้ตลอดเวลา เพราะยังมีตัวแปรอีกมากที่ตอนนั้นไม่ได้เอามาพิจารณา ความคิดที่ออกมาจากคนๆเดียว ทำได้ดีที่สุดก็แค่ความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองมาแล้วจากอดิตและปัจจุบันเท่านั้น ไม่ใช่อนาคต แต่ประสบการณ์อนาคตต่างหากที่จะทำให้ คำพูดหรือสิ่งที่คุณบอก ณ ปัจจุบันนั้นไม่ถูกต้อง และสำเนียงรู้ได้ในภายหลังว่ามันไม่ใส่คำตอบหรือทางออกที่ดี และน่าจะต้องฟังคนอื่นให้มากกว่านี้
11. เพราะสุดขอบความสามารถทางความคิดจากคนๆเดียว คือ ประสบการณ์ทั้งโลกจริงที่ผ่านมาในอดิตและปัจจุบัน และทั้งประสบการณ์ทางความคิดที่ฟอร์มความคิดของปัจเจก ณ เวลาปัจจุบันนั้นเท่านั้น นั่นก็แปลว่าถ้าหากว่าคุณจะเหลาความคมในการคิดให้มากขึ้นได้อีก จำเป็นที่จะต้องอ่านหนังสือ หรือ อ่าน blog ให้มาก(blog ที่ทำให้คุณฉลาดขึ้น คิดรอบตัวมากขึ้นก็มีมากมายให้เลือกอ่านกัน แค่ว่าต้องหาสักหน่อยเท่านั้นเอง) จำเป็นจะต้องเข้าฟังสัมนาเชิงแนวคิด และ/หรือ พบปะผู้คนที่อยู่คนละสังคมกับคุณ ไม่ว่ามันจะเป็นสังคมที่ดีหรูเริดในสายตาคุณเองหรือเลวบัดซบก็ตามที เพื่อให้คุณได้เห็นความคิดของคนที่แตกต่างประสบการณ์กันไป แต่อยากจะให้เน้นที่การอ่านเอาไว้ก่อน เพราะคนที่พิมพ์ออกมาได้นั่นก็แปลว่า เค้าเหล่านนั้นคิดและถ่ายทอดออกมาเป็น text ให้ได้เห็นกัน และมันสื่อสารกันได้ด้วย pace ที่เหมาะสมในแต่ละคนไป
12. จงคิดที่จะสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นเสียก่อนก่อนที่จะ monetize ออกมาเป็นเงินได้ ยังไม่เคยเห็นกิจกรรมทางการค้าใดๆที่ได้เงินออกมาก่อนหน้า(ทั้งก้อน)แล้วค่อย delivery อัตถประโยชน์ตามมาทีหลัง มีแต่คุณต้องสร้างระบบ เตรียมของ ลงทุน ลงแรงไปเสียก่อนแล้วถึงจะได้กำไรจากการลงทุนนั้นกลับมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นแล้วการออกแบบกิจการใดๆต้อง focus ให้ถูกจุดไปที่ว่า "เราจะสร้างประโยชน์ให้กับใคร? และอย่างไร" แทนที่จะบอกว่า "จะทำยังไงให้ได้เงินออกมาจากกิจการที่ทำหรือกำลังจะทำ" เมื่อคุณวางโครงสร้างเชิงประโยชน์ใหคนอื่นได้แล้ว แล้วค่อยคิดว่า "คุณจะเจียดรายได้จากประโยชน์ทีสร้างให้กับคนอื่นนั้นออกมาเป็นเงินกำไรได้อย่างไรกัน?" แทนเสียจะดีกว่าและมันก็เป็นวิธีคิดที่ง่ายกว่าด้วย (พวกกิจการบนโลก online มักจะคิดกันแบบนี้โดยสร้าง beta version ออกมาเพื่อให้ระบบเดินได้เสียก่อนแล้วก็ค่อยมาคิดว่าจะเก็บเงินยังไงเป็น model เสริมเข้าไปตอนหลังต่อไปก็ยังได้ )