รายชื่อ วิทยากร ที่มาคุยกันให้ผมฟัง บนเวที :
คุณพิชิต วีรังคบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรมสัมพันธ์ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ,
พูลพัฒน์ โลหชิตรานนท์ ผู้อำนวยการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บอทานิค จำกัด ,
คุณจีรพรรณ กิตติศศิกุลธร Design Director บริษัท Able Interior workshop จำกัด
Please download file here :
file ที่ผม Note เอาไว้ได้จากที่นี่ครับก่อนที่จะอ่านเนื้อหาด้านล่าง
วันนี้ไปเดินทางไปฟังสันนาเรื่องประมาณว่า ธุรกิจมี design ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะได้เข้าฟังสัมนาเท่าไหร่เพราะว่าไม่ได้โทรไปจองก่อนก็คิดว่ายังไงซะก็เดินเข้าไปเซ็นเอาหน้างานก็น่าจะได้อยู่ ก็ปรากฏว่า ได้น่ะครับก็เลยได้มีโอกาสเข้าไปฟังกัน
คนฟังเยอะอยู่ครับ เรียกได้ว่าแน่นเต็มจำนวนเก้าอี้ที่เค้าจัดเอาไว้ให้น่ะครับ ประเด็นที่อาจจะเกี่ยวกับเรื่องคอมๆสักหน่อยก็จะมีอยู่ประเด็นนึงครับ แต่ว่าอาจจะต้องเล่าให้ฟังเป็นฉากๆไปจะได้เข้าใจกว่าครับ
คนที่มาบรรยายให้เราฟังจะเป็นคนที่ทำโรงงานทั้งหมดแต่สินค้าของเค้าจะเน้นการ design เป็นหลัก เพื่อให้สินค้าขายออก ถ้าหากว่าเหมือนกับคนอื่นเค้าก็คงไม่ได้ขึ้นเป็นผู้บรรยายในสัมนาครั้งนี้เป็นแน่แท้ครับ คนนึงทำเกี่ยวกับสินค้าประเภทผลไม้แห้ง หรือพวกดอกไม้ตากแห้งแล้วบรรจุ ในนั้นก็จะมีกลิ่นหอมๆออกมาด้วย ตั้งเอาไว้นานๆเข้าก็ต้องทิ้ง เค้าบอกว่าสินค้าแบบนี้เค้าชอบเพราะมันเป็นโอกาสตลาดอย่างเห็นได้ชัดเพราะมันมีการใช้แล้วทิ้งอย่างแน่นอนเพราะว่ากลิ่นมันก็ไม่ได้อยู่ถาวรอะไร ส่วนอีกคนก็จะเป็นคนผลิต furniture ที่เกี่ยวกับ home decoration ตกแต่งบ้านครับไมว่าจะเป็นโต้ะเก้าอี้ โคมไฟและอื่นๆ (ผมไม่ได้เห็นภาพสินค้าที่เค้าทำครับ คนนี้บังเอิญว่าเป็นคน present ไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ แต่ก็ไม่ได้ว่าเค้าจะ design ไม่เก่งนี่ครับ ) แล้วก็อีกคนเป็นคนที่เหมือนจะผลักดัน TCDC ให้มีกิจกรรม มีเรื่องเดินไปได้ แล้วก็เป็นคนที่ทำธุรกิจออกแบบสินค้าใดๆเพื่อให้สินค้านั้นๆขายออกไปได้ เรียกตรงๆเลยน่ะครับว่า ขาย design ไม่สนหรอกว่าสินค้ามันจะเป็นอะไรกระเป๋าก็ได้รองเท้าก็ได้
ร่ายมาเสียยาว ก็จะได้ Get ภาพก่อนว่าคนเหล่านี้ไม่ได้เป็นคนที่ลอยๆมาแต่ว่าผ่านประสบการณ์การออกแบบสินค้าเพื่อขายให้ได้สู้ตลาดกันหมดทุกคนน่ะครับ ประเด็นที่เป็นประเด็นหลักผมจะเล่าออกมาเป็นข้อๆได้ต่อไปนี้ครับ
1. Online Marketing สำหรับสินค้า Design ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนัก สำหรับคนไทยแม้กระทั่งผู้ประกอบการที่ทำสินค้าประเภท Design เอง : ตอนนี้คนเหล่านี้ก็ไม่ได้เน้นการ marketing ผ่าน Online marketing แต่ประการใด คนทีทำสินค้าดอกไม้แห้ง ก็บอกออกมาเองว่า ลูกค้าเค้าไม่ได้เข้ามาทางหน้าเว็ปสักเท่าไหร่ ก็แปลว่าเค้าไม่ได้มีคนออกแรงเพื่อให้เกิดการดูดคนผ่านการค้นหาสักเท่าไหร่ หรือว่าอาจจะไม่ได้มีความรู้ตรงๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ได้ ส่วนคนที่สองทีทำเฟอร์นิเจอร์ไม่ได้มีการ โปรโมตผ่าน online แต่อย่างใด เค้าบอกว่าสินค้าเค้าเป็นตัวบอกต่อให้คนอื่นๆด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว สินค้าของเค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร แล้วก็การ design เหมือนกับมี Brand signature อยู่ในตัวมันอยู่แล้ว ไม่ต้องตาม Trend อีกต่างหาก ก็น่าจะทำได้น่ะครับเพราะว่าก็ product เยอะแยะที่ทำตัวอย่างงั้น คือ รักษาภาพลักษณ์ และการ design ให้เป็นแบบตัวเองได้เป็นตัวเองมากจริงๆ เค้าก็จะขายได้อย่างไม่ยากเย็น
2. มูลค่าในการออกงาน Trade show ลดน้อยลงไปเมื่อเทียบกับเมื่อสิบปีก่อน : คนบรรยายบอกออกมาและผงกหัวพร้อมกันราวกับนัดกันมาแล้วครับว่า คนที่เดิน Trade show น้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับสมัยก่อน มีผู้บรรยายท่านนึงประเมินเอาว่า เป็นเพราะว่าอิทธิพลของ internet ที่จะทำให้ผู้ซื้อกับผู้ขายมีโอกาสได้เจอกันมากกว่า แล้วก็เป็นการลดต้นทุน การ sourcing ของลูกค้า การเดาครั้งนี้ผมไม่เห็นข้อมูล support มากเท่าไหร่ แต่ผมก็เห็นด้วยส่วนหนึ่ง่นะครับ เพราะว่า มี Online Trader website มากมายผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดแล้วก็ website เหล่านี้ก็ทำกำไรระดับโลกเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่า มันไม่ได้ก่อประโยชน์แต่อย่างใดเค้าจะทำกำไรจาก profit ส่วนเกินที่ provide ให้กับคนอื่นๆได้อย่างไรกันล่ะครับ ถึงอย่างไรก็ดีทั้งหมดก็ยังออกงานบูทอยู่ดีน่ะครับเพราะว่ามันเป้นประสบการณ์เก่าๆที่ยังบอกเค้าเหล่านั้นอยู่ว่า จะทำให้ได้ลูกค้าอยู่แม้ว่า ลูกค้าจะมาเดินน้อยลงแล้วก็ตามที แต่ก็จะเน้นเพิ่มเติมโดยการ knock door หรือว่านำสินค้าไปเสนอกับลูกค้าในฐานข้อมูลเก่าๆ (คนพวกนี้อยู่ใน business ของตัวเองมามากกว่า 10 ปี) เพื่อเอาสินค้าใหม่ๆไปเสนอได้ไม่ยาก เค้ามี profile ที่ดี มีความฉลาดในการ present มากขึ้นก็จะทำให้ขายสินคค้า Design ใหม่ๆของเค้าเหล่านั้นได้ เช่นเดียวกันครับ
3. submit ผลงานตัวเองกับ "media" : ถ้าหากว่าคุณอยู่วงการอะไรก็แล้วแต่ คุณจำเป็นต้องรู้ว่า website ไหน หรือว่าสื่อไหนที่มีอิทธิพลต่อ potential buyer ของสินค้าคุณได้บ้าง เช่น พวกงาน Design ประหลาดเหล่านี้ ก็จะมี website เหมือนกับเป็นศูนย์รวมของผู้ออกแบบ เอาสินค้าตัวเองมา post โชว์หรือออกสื่อนี้ให้ได้ เมื่อได้ออกแล้วก็จะมีการติดต่อกลับเข้ามายังผู้ผลิตโดยตรงได้ ผมอยากจะมองว่า สื่อที่เป็น inter แล้วเชื่อมต่อคนที่เป็น niche แบบนี้ได้ดีที่สุดไม่ได้เป็นนิตยสารเฉพาะทาง แต่เป็น online website อะไรบางอย่างหรือแม้กระทั่งเป็น weblog (บล็อก) ของใครบางคนที่ทำหน้าที่นี้ครับ ถ้าหากว่าเอาผลงานคุณออกไปสู่สายตาคนซื้อได้แล้วล่ะก็แน่นอนว่าโอกาสทางธุรกิจก็ต้องเกินขึ้นเป็นเรื่องปกติที่จะตามมา
4. มีหลายกรณีที่มีการสั่งซื้อแล้วต้องกระเสือกกระสนเพื่อทำการผลิตให้ได้กับปริมาณที่ลูกค้าต้องการ : สำหรับสินค้าใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะขายได้ดีแค่ไหน (คนผลิตเอาหรือคน design เองอาจจะคิดว่ามันก็ไม่ได้เจ๋งอะไรมากมาย หรือว่ามันก็ยังไม่รู้บอกไม่ได้หรอกว่าจะขายได้ หรือขายดีแค่ไหนกัน ) คนเหล่านี้เมื่อผ่าน process ของการ present ออกไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการออกบู้ท หรือ submit ไปยัง media ก็แล้วแต่แผนใครแผนมัน เมื่อได้ลูกค้ามาอัตราผลผลิตจะเป็นปัญหาที่ติดตามมาเป็นเงาตามตัว เพราะลูกค้าเหล่านี้ถ้าหากว่าเป็นคนที่มี buyer connection หรือ network ของคนซิ้อยู่ในมือแล้ว อาจจะมีการสั่งสินค้าที่ present ไปเป็นปริมาณที่มากก็ได้ ปัญหาพวกนี้ก็ต้องเตรียมตัวรับมือครับ แต่ตอนบรรยายก็ไม่ได้บอกว่ารับมือได้อย่างไร เพราะเค้าเหล่านั้นไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นปัญหาเท่าไหร่ เพราะเงินมันก็อยู่ตรงหน้ากันแล้วนี่ครับ จะทำอะไรก็ได้เพื่อให้สินค้าผลิตส่งได้จำนวนมากๆเท่านั้น มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีจริงเหรอป่าวล่ะครับ
5. การเข้าใจสินค้าหรือผู้ซื้อสินค้าตัวเอง หรือ business ที่ตัวเองทำนั้น ต้อง Get กันระดับ "ดื่มด่ำ" หรือ อีกคนเรียกว่า "เข้าใจแบบของสะสม" มีการเปรียบเทียบความเข้าใจของหมวดสินค้าที่ตัวเองจะขายระดับที่ Design ได้นั้น ไม่ได้เป็นแค่เหมือนกับ อาซิ้มที่ซื้อมาขายไปเท่านั้น เพราะพวกนี้ไมได้ดื่มด่ำแล้วก้ไมได้อินกับสินค้าสักเท่าไหร่ ใจจะต้องรักเข้าใจสินค้าประเภทนั้นๆอย่างบ้าคลั่ง ราวกับเป็นของสะสมของตัวเอง ผมเข้าใจเลยน่ะครับ ระดับนั้นมันคืออะไรเพราะว่าตัวผมเองก็มีของสะสมเป็น ความรู้มายากลอยู่ หรือเรียกว่าเป็นพวก secret collection (รู้สะสมแต่ว่าไม่ค่อยได้แสดงเพื่อหารายได้แต่ประการใด) ผมจะใช้เวลากับพวกนี้มากมาย (แต่ก่อนตอนที่บ้าคลั่ง) แล้วก็ความรู้เหล่านี้ก็สะสมมาเป็นระยะเวลานาน อ่านหนังสือเกี่ยวกับมัน ซื้อสินค้าเกี่ยวกับมันแม้ว่ามันจะแพงถ้าหากว่าเทียกับ material ที่เราได้แต่ว่า มันแอบใส่ valve add เข้าไปเป็นเชิงความลับ หรือ ความเป็นอัจฉริยะในการคิดออกมาวิธีการเล่นกลเหล่านั้นได้อย่างไม่น่าเชื่อทำให้ผมเองก็ลุ่มหลงระดับ passion กับมันเลยครับ แต่ว่านั่นมันไม่ได้เป็น business ของผมแต่ประการใด ในทางกลับกันถ้าหากว่าคุณจำ business อะไรก็ตามเพื่อให้ออกงาน design หรือมีแนวคิดใหม่ๆสำหรับสินค้านั้นๆได้แบบเจ๋งๆ แล้วล่ะก็ การหลงแบบมี passion นั้นเป็นเรื่องจำเป็น (ผมก็คิดแบบนี้น่ะครับถ้าหากว่าคุณไม่ได้รักไม่ได้ชอบเลย หรือเกลียดมันด้วยซ้ำ ก็คิดดูแล้วกันน่ะครับ ถ้าหากว่าแข่งกันระหว่างคนที่รักชอบอย่างบ้าคลั่งกับสินค้าหรือบริการที่เป็น business คัวเองกับคนที่เฉยๆทำ business เดียวกัน ใครจะทำผลงาน กำไร และออกแบบสินค้าใหม่ได้ดีกว่ากัน ) มีการอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าหากว่าคุณหลงสินค้าที่คุณทำเป็น business แล้ว อย่างอื่นจะ auto ออกมาเองไม่ว่าจะเป็น concept ในการคิดเรื่องการจัดสรรทรัพยากร เวลาของคุณกับ business หรือแม้กระทั่งการมองออกอย่างเป็นรูปธรรมว่า แบบไหนกันที่เรียกว่าเจ๋ง ! ก็คุณรักมันเข้าไส้ซะขนาดนั้นมันก็ต้องเห็นอะไรที่คนปกติมองไม่เห็นเป็นธรรมดาน่ะครับ
6. แนวคิดต้องนอกกรอบ : ไมว่าคุณเรียนอะไรมาก็แล้วแต่ คุณก็สามารถที่จะ design สินค้าหรือบริการที่คุณ passion กับมันได้ไม่ยาก โดยอย่าเอาเรื่องที่คุณรู้แล้ว มาจากการบันทึกเป็น textbook หรือคนอื่นบอกมา (แนวอย่าเชื่ออะไรใคร ) หรือแม้กระทั่งอย่าคิดเหมาเอาเอง (การแยะแยะได้เรื่อง สมมุติฐานจากบทความครั้งก่อนที่ผมก็โม้ให้ฟังเอาไว้แล้วน่ะครับ) มีการอธิบายว่า การแหกกฏจะต้องกระทำเป็นเรื่องปกติอย่างเป็นระบบ สำหรับคนที่ไม่เคยทำ เช่น ถ้าหากว่าคุณอยู่กับห้องประชุมเดิมๆ ประชุมด้วยวิธีการเดิมๆ แล้วคุณจะได้หนทางแก้ปัญหาหรือ product ใหม่ๆออกมาอย่างงั้นหรือ หรือคุณอาจจะต้องฝึกสมองโดยการรวมสินค้า function ใดๆในโลก เข้าด้วยกันเป็นประจำเพื่อเป็นการลับมีดสมองการคิดออกแบบ product ใหม่ๆของคุณเช่น จงออกแบบสินค้าหรือบริการที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเทปกาว กับเสื้อยืด เป็นต้น ซึ่งผมก็แอบเอามาคิดก็ยังคิดไม่ออกน่ะครับว่าจะทำอะไรออกมาเป็น product ได้
7. การแก้ปัญหาด้วยเงิน เป็นวิธีการที่เท่ห์น้อยที่สุด (เรียกว่ามันเจ๋งน่ะครับ) ถ้าหากว่าคุณแก้ปัญหาใดๆดว้ยการใช้เงินจัดการมันแสดงว่ามันผ่านการคิดออกมาน้อยไปหน่อยน่ะครับ เพราะว่า ปกติแล้วผมจะคิดเสมอว่ามันจะต้องมีวิธีการที่ดีกว่านี้ ผมไม่ได้เป็นงก (เท่าไหร่) แต่ก็ชอบที่จะคิดแบบนี้เช่นเดียวกันอะไรที่ทำออกมาแล้วโดยไม่ใช้เงินสักเท่าไหร่ในการแก้ปัญหา แล้วมันแก้ได้เหมือนกัน รู้สึกว่าไม่ต้องใช้เงินเนี่ยะเป็นวิธีการที่ได้ออกแรงสมองเพื่อลับความคิดแล้วก็เจ๋งกว่าน่ะครับ อันนี้ไม่เถียงน่ะครับ แต่ว่าก็อีก เดี๋ยวนี้ก็มีคนที่รับเงินเพื่อออกแรงคิดให้เราได้ด้วยเช่นเดียวกัน (ประเด็นนี้ผู้บรรยายไม่ได้พูดเอาไว้แต่ตัวผู้บรรยายเองก็ทำหน้าที่นี้ให้กับผู้ว่าจ้างคนอื่นๆเช่นเดียวกัน)
8. style เป็น subset ของ Design แล้วก็ Design ก็ไม่ได้แก้ปัญหาการขายของไม่ได้ไปซะทั้งหมด ? มีประเด็นอยู่ว่าถ้าหากว่าคุณไม่ได้ passion กับสินค้าหรือบริการมากๆ เราจะไม่เข้าใจ content ของความต้องการซื้อสินค้าได้เลย เราสามารถที่จะออกแบบโดยการปรับเปลี่ยน style ของสินค้าได้แล้วแต่ผู้ออกแบบซึ่งมันก็จะมีวันตันได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นแล้วต้องกรองการออกแบบออกมาโดยการใช้ content มากน่าจะเป็นเรื่องดีกว่า
9. "Keep it Simple !" : เป็นอีก concept ที่ผมบอกว่า ใช่เลยครับ ไม่ว่าจะออกแบบวิธ๊การผลิตหรือสินค้าใดๆก็ตาม หากว่าคุณทำออกมาแล้วเริ่มมีความซับซ้อนเกินไป (คุณรู้หรอกว่าอะไรเรียกว่าเกินไป ) มันจะเริ่มไม่ดีแล้ว แปลว่าอะไรน่ะครับ แปลว่าคุณยังหาวิธีการที่มันง่ายกว่านั้นไม่ได้มากกว่า ความเข้าใจกับตัวสินค้าถ้าหากว่าคุณแสดงมันให้ซับซ้อนลูกค้าก็จะงงๆอีก การนำเสนอจะต้องเรียบง่าย ดูไม่ซับซ้อน มันจะต้องดูไม่ซับซ้อนเกินไปตั้งแต่ตอนออกแบบสินค้ากันเลยก็ว่าได้ ผู้บรรยายเล่าถึงขนาดว่า เอาไม้มาผ่าเป็นท่อนอบกลิ่นมันแล้วใส่กระป๋องแล้วก็นำเสนอออกไป เท่านั้นเองก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำไม่รู้ว่าทำไมมันง่ายขนาดนี้เหมือนกัน ...
10. ทุกคนอยากต้องมอง waste ของตัวเองและของคนอื่น มาเป็น raw material เพื่อเอามาผลิตเป็นสินค้ามี design ของตัวเองให้ได้ : ผมใช้ใจว่าถ้าหากว่าเราฉลาดพอที่จะออกแบบสินค้า (รวมทั้ง process เพื่อแปลงมันให้เป็นสินค้าที่ออกแบบ) ได้จาก ขยะ หรือ สิ่งที่ทุกคนไม่รู้ว่าจะกำจัดมันอย่างไรดี ได้แล้วล่ะก็มันจะเป็นมูลค่าเพิ่มสูงสุดระดับที่ทำให้คนไม่มีอะไรจะทำ ไม่มีอันจะกิน ตกงาน ไร้ความสามารถ (ด้านอื่นๆ) ลืมตาอ้ามากกันได้เลยทีเดียว เรียกว่า valve add มันสูงสุดๆจากการแปลงของไร้ค่าให้เป็นของมีค่าได้ด้วยกระบวนการผลิตที่ออกแรงน้อยสุดๆแล้วก็ได้สินค้ามูลค่าที่ยอมมีคนจ่ายเงินให้กับคุณได้มากสุดๆ (ราคาขาย - ต้นทุนการผลิต - ต้นทุนวัตถุดิบที่เป็นขยะมาก่อน = กำไรนี่หน่า .. >< ) ถ้าทำได้ก็เอาไปกินครับผม แต่ note ไว้นิดหน่อยน่ะครับว่าจะทำอย่างนี้ได้ต้องดูด้วยว่า ขยะมันจะมีเยอะแค่ไหน แล้วจะมีต้นทุนอะไรมั้ยที่จะทำให้ขยะแปลงมาเป็นสินค้าด้วย activity ที่ต้นทุนต่ำ คนที่ขายขยะให้เราเค้าก็ต้องได้กำไรหรือเงินพอที่จะทำให้ตัวเค้าอยู่ได้ด้วยความ happy ไหลผ่านกระบวนการผลิตและ know-how ของเราแล้วก็ออกเป็นสินค้าของเรา ไปให้ลูกค้าได้ความ happy หลังจากการใช้งานได้ ก็จะ happy กันทั้งสาย จะทำให้สินค้านั้นๆยั่งยืนได้น่ะครับ
11. โชว์สินค้าคุณออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ต้องกลัวโดน Copy : มีการกล่าวอ้างว่าถ้าหากาว่าคุณคิดอยู่เสมอจะทำให้คุณวิ่งนำหน้าผู้ที่จะ Copy คุณตลอดไปและจะทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆด้วย เพราะคนที่ไม่ได้ฝึกวิ่งมาก็จะวิ่งได้ช้า ถ้าหากว่าคนวิ่งเป็นประจำก็จะอึดกว่าและวิ่งได้เร็วกว่า ทำให้ระยะทางก็ต้องห่างออกไปเรื่อ่ยๆเมื่อวิ่งไปพร้อมๆกัน (เหมือนกับโจทย์ physics ม ปลายยังไงก็ไม่รู้แฮะ) ยังไงคุณก็ต้องโดน copy อยู่แล้วถ้าหากว่า product คุณเจ๋ง ! เรื่องนี้โดนตีความออกเป็นสองส่วนที่ทำให้คน C&D ( Copy and Develop) ตามคุณได้ไม่ทันก็คือ Know-how ในการผลิต (ถ้าหากว่ามันมี trick นิดหน่อยก็จะเป็นเรือ่งดี ไม่ใช่ทุกคนก็ทำได้หมด ) แต่ถ้าหากว่ามันง่ายจัดๆก็ไม่ต้องอ่อนระทวยไป ยังมีอีกเรื่องก็คือ การ present สินค้าถ้าหากว่าคุณ present ได้ดูดีตรงใจ คุณก็จะได้กินตลาดไปก่อนอยู่ดีน่ะหละ
12. imaginative -> creative -> innovative อย่ากลัวที่จะคิดเพราะว่ามีคนบอกว่าก็คนอื่นเค้าไม่ได้ทำกันแบบนี้ ! มันจะทำให้ imagine ของคุณย่อยสลายไปได้ ทุกอย่างเริ่มจากจินตนาการอันเพ้อฝันก่อนทั้งนั้นน่ะครับไม่ว่าสินค้าหรือบริการอะไรที่เราสำเหนียกรู้ได้ผ่านผัสสะทั้งห้าของเราตอนนี้ เพราะฉะนั้นแล้ว คุณต้องเก็บความเป็นเด็กเอาไว้ในตัวเพื่อสร้าง จินตนาการ เพื่อต่อยอดออกเป็้นความคิดสร้างสรรค์ แล้วก็ออกแรงทำสินค้าออกมาได้จริงเป็น นวัฒกรรมต่อไปครับ
... ประเด็นมากมายที่อาจจะยัง reflect ออกมาตอนนี้ไม่ออกเพราะว่า note ที่ผมจดเอาไว้ไม่ได้อยู่กับผมตอนนี้น่ะครับ ยังไงถ้าหากว่าได้อ่าน note แล้วผมจะเอามาตีประเด็นต่ออีกเป็นภาคสองน่ะครับ ^_^ ..
No comments:
Post a Comment