Friday, January 15, 2010

สิ่งพึงระวังในการคิดถึงปัญหาและการแก้ปัญหา

ตอนที่เราทำงานใดๆหรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิต คนเรามักจะเจอปัญหา หรือ สิ่งใดที่เราคิดว่ามันเป็นปัญหา หรือ อุปสรรค ต้องบอกเอาไว้ก่อนเลยว่ามันเป็นเรื่องปกติที่จำเป็นต้องเจอ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม ผมชอบเรียกสิ่งนี้ว่าการกรุยทาง (ถ้าหากว่ามันเป็นการทำอะไรก็ตามที่ไม่เคยทำมาก่อน แล้วมีเป้าหมายใดๆอยู่ด้านหน้า ) คุณอาจจะไปไม่ถึงเป้าหมายแล้วตกหลุมกับดักระหว่างทาง แม้กระทั่งเจอกับก้อนหินหรืออุปสรรคที่อาจจะทำให้คุณหยุดอยู่ตรงนั้นหรือไม่ก็หันไปมองทางอื่นแทนก็ได้ (ซึ่งมันก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีก็ได้ผมไม่ได้บอกว่าการมองไปที่อื่นมันไม่ดีนี่หน่า )

แนวคิดหนึ่งที่สำคัญในการจัดการกับปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นนั้น หลักๆแล้วผมเห็นภาพจากการที่ต้องดิวงานกับคนอื่นๆ ออกเป็นได้แค่ไม่กี่ประเด็นเท่านั้น เพื่อให้การมองและแก้ปัญหานั้นกระทำได้อย่างชาญฉลาด จำเป็นต้องเข้าใจสิ่งเหล่านี้หรือว่า จำแนวคิดเหล่านี้ไว้ในหัวอยู่เสมอครับ

- ปัญหานั้นคือปัญหาหรือไม่ : แน่นอนว่าถ้าหากว่าคุณเจอตอเข้าให้ในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งที่เป็นเป้าหมายปลายทางนั้น อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วมันจะทำให้คุณคิดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นปัญหา แต่ผมต้องบอกเอาไว้ก่อนเลยว่า คุณแน่ใจแล้วเหรอครับ ว่าสิ่งนั้นมันคือปัญหา คุณมองมันไม่เป็นปัญหาอะไรได้หรือไม่ หรือว่าคุณเอาอะไรเป็นหลักฐาน หรือแนวในการคิดว่าสิ่งนั้นมันเป็นปัญหา การที่เราเห็นสิ่งที่เป็นตอทางตัน แล้วคุณจะเริ่มตั้งโจทย์ขึ้นมาในใจทันที พึงระลึกไว้เสมอว่า "คุณตั้งโจทย์ที่ถูกต้องแล้วหรือไม่" เพราะหลายต่อหลายครั้งในการแก้ปัญหา ปรากฏว่า เราทำการทดสอบทดลอง หาวิธีการ ออกแรงคิดไปต่างๆนานามากมายก็พบภายหลังว่า "โจทย์ผิด" ทำให้เราเสียแรงและพลังงานไปกับการแก้ปัญหาที่ผิดโจทย์ ซึ่งมันน่าเศร้ามากกว่าการที่คุณไม่ได้ทำอะไรเสียด้วยซ้ำ นอนเฉยๆจะดีกว่า ยิ่งถ้าหากว่าคุณเป็นระดับที่กำหนดให้คนอื่นทำงานให้คุณได้ด้วยแล้วล่ะก็ คุณน่ะหละต้องยิ่งคิดเข้าไปใหญ่ว่า โจทย์ที่คุณกำลังจะใช้คน แรงงาน ความคิดไม่ใช่แค่ของตัวคุณเอง แต่เป็นคนอื่นๆที่ต้องรับเรืองต่อไปจากคุณต้องมาออกแรงด้วยเช่นกัน ถ้าหากว่ามันผิดโจทย์แปลว่า มันผิดพลาดเป็นทวีคุณ หลายเท่าพันทวี ผิดอย่างไม่น่าให้อภัยได้ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากว่าคุณเป็นผู้ว่าจ้าง (จ่ายเงินเพื่อให้คนอื่นๆทำอะไรก็สุดแล้วแต่) แล้วคุณตั้งโจทย์ที่คุณคิดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นปัญหาที่จะต้องทลายมันไป แล้วคุณตั้งผิดโจทย์ ก็แปลได้ง่ายกว่านั้นอีกก็คือ คุณเอาเงินไปเผาเล่น แล้วทุกคนก็เหมือนกับมีอะไรทำ ทั้งๆที่ไม่ได้ผลอะไรออกมาทั้งนั้น เหมือนว่าจะแก้ปัญหา แต่ว่าปัญหานั้นไม่ได้ปัญหาตั้งแต่แรกแล้ว project ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ ยิ่งต้องคิดมากเรื่องนี้ครับ  คุณอาจจะสงสัยว่าแล้ว ปัญหานั้นมันเป็นปัญหาจริงเหรอป่าว จะไปรู้ได้ยังไงล่ะ ? วิธีการก็คือ คุณจะต้องเริ่มทำตัวเป็นนักสืบ เสาะหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ได้มากที่สุด จากความสามารถที่คุณมีอยู่ หรืออย่างน้อยที่สุด ก็คิดวนซ้ำไปมา แล้วถามตัวเองว่ามันใช่จริงเหรอ เท่านั้นก็อาจจะเพียงพอแล้วใน case ที่ไม่ได้มีความยุ่งยากมากนัก คุณจำเป็นต้องแยกแยะสมมุติฐานที่มีอยู่ในหัวคุณให้เป็น แนวคิดนี้ เป็นแนวคิดที่พระพุทธเจ้าก็บอกเอาไว้เหมือนกันว่า อย่าไปเชื่ออะไร จนกว่าจะได้พิสูจน์ครับ ไม่เช่น แม้กระทั่งพ่อแม่ ครูอาจารย์และตำรา ที่เค้าเขียนมา (และไม่เชื่ออื่นๆอีกหลายอย่างผมจำไม่ได้แต่ว่าครอบคลุมมากๆ กาลามสูตร ครับอันนี้) เรื่องนี้ผมเคยเล่าเรื่องง่ายให้ฟังเรื่องการตั้งโจทย์ผิดเช่น ผมใส่เข็มขัดแล้วมันไม่มีรูให้ผลเอาหัวมันสอด lock ได้เพราะว่าซื้อมาไม่ได้ไปให้ร้านเค้าเจาะรูเพิ่ม โจทย์ที่คิดออกมาแบบไม่คิดมาก คือ "ทำยังไงให้มันมีรูเพิ่ม" นั่นน่ะซิผมไม่เคยคิดหรอกว่า โจทย์ผิด ทำให้ผลไปหาอุปกรณ์ต่างๆนานาๆมาเพื่อจะไปเจาะรูมัน (คิดว่าหาง่ายเหรอป่าวอ่ะครับ) หรือว่าคิดว่าจะขับรถไปติดต่อกับห้างร้านเพื่อให้เค้าเจาะรูเพิ่ม อืม .. มานั่งคิดอีกที อ้าวโจทย์ผิดจริงๆด้วย เพราะว่าสิ่งที่ผมต้องการคือ ทำยังไงให้ใส่เข็มขัดได้ต่างหาก อืมก็คิด ถ้าหากว่าเราย้ายรูที่มีมาอยู่ในตำแหน่งที่เราใช้ได้ก็จบเหมือนกัน อืม .. งั้นก็ตัดสายเอาก็ได้นี่หน่า ไม่เป็นไรนิเราก็ใส่อยู่คนเดียวไม่ได้ให้คนอื่นใส่สักกะหน่อยไม่ต้องให้เข็มขัดมัน free size ซะขนาดนั้นนี่เนาะ ผมก็เอากรรไกรมา แล้วก็ตัดปลายสาย(ด้านต้นสายน่าจะเรียกถูกกว่าน่ะครับ) ก็ ... จบ problem solved ! เท่านี้เอง ผมยกตัวอย่างเล็กๆให้ฟังเพราะว่ามันอ่านง่าย get ง่ายน่ะครับแต่วาถ้าหากว่าเป็นปัญหาระดับใหญ่ขึ้นคุณก็จะรู้ได้เลยว่า มันจะเดือดร้อนแค่ไหนถ้าหากว่าคุณตั้งโจทย์ผิด!

- มันมีวิธีการแก้แบบที่ง่ายกว่านี้เหรอป่าว : เมื่อคุณคิดว่าปัญหาที่เจอมันใช่แล้วด้วยการคิดวนซ้ำไปๆมาๆหรือว่าหาหลักฐานสั้นๆก่อนว่ามันใช่ปัญหาจริง หรือใช่ปัญหาอย่างแน่นอน แนวคิดที่คุณต้องคิดต่อคือ คุณจะเริ่มหาทางออก แต่อย่างไรก็ดี การหาทางออกคุณจะได้ความคิดวูบแรกออกมาเป็นประจำ รวมทั้งถ้าหากว่าคุณคุยกับคนในทีม หรือ คนอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็เค้าก็จะมีวิธีการแก้ไขให้ได้เช่นเดียวกัน แต่จำไว้เลยว่า ความคิดเหล่านั้นไม่ได้แปลว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ชาญฉลาดที่สุด ผมอยากนิยามว่า ฉลาด คืออะไรสักหน่อยน่ะครับ คือ การแก้แบบฉลาดแปลว่า คุณจะใช้แรง กำลัง ความคิด เงิน เวลา ทรัพยากรใดๆที่คุณมีอยู่น้อยที่สุด เพื่อให้ปมปัญหานั้นคลายตัวออกไป ถ้าคุณแค่ดีดนิ้วแล้วปัญหามันหายไปเลย แน่นอนว่าดีกว่าเป็นไหนๆถูกเหรอป่าวล่ะครับ นั้นน่ะหละครับเป็นประเด็นที่ว่า "คุณต้องคิดหาวิธีการที่ง่ายเอาไว้ก่อน" ผมไม่ได้คิดว่าเป็นการแก้ปัญหาแบบลวกๆน่ะครับ มันเป็นการแก้ปัญหาแบบฉลาดตะหาก เพราะถ้าหากว่ามันตอบโจทย์ได้เหมือนกัน ทำไมต้องทำให้มันยากด้วยเล่า เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อคุณคิดว่านี่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาแล้วล่ะก็ คิดย้ำซ้ำไปอีกทีว่า "มีวีธีที่ฉลาด(คือง่ายกินทรัพยากรน้อย)กว่านี้หรือไม่เท่าที่คุณและที่ปรึกษาหรือทีมงานของคุณจะคิดออก" เรื่องการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ง่ายกว่านี้ ผมเจอกับตัวเองมาเยอะครั้งมากแล้ว สมมุติว่ากลับมาตัวอย่างเข็มขัดกันดีกว่า เพราะว่าง่ายดี ที่เข็มขัดจะมีห่วงอยู่ แล้วเวลาใส่เข็มขัดจำเป็นต้องให้ปลายสายมันอยู่ lock ในห่วงเข็มขัด ปลายมันจะได้ไม่ยื่นออกมามากนัก แปลว่า ห่วงต้องอยู่ที่เอวหรือค่อนไปทางซ้าย ก็แปลว่าห่วงต้องลอดหูกางเกงไปให้ได้ (แอบมีการตั้งโจทย์ผิด) วิธีการแก้ปัญหาที่จะคิดออกทันทีคือ คุณก็พยายามดันห่วงเข็มขัดลอดหูกางเกง ซึ่งกระทำได้ยากบ้างง่ายบ้างแล้วแต่กางเกงที่ใส่น่ะครับ ผมก็ละเมอคิดไปไกลว่า เอ้ย ทำไมกางเกงมันไม่ออกแบบมาให้หูมันกว้างกว่านี้ ทำไมไม่คิดถึงตอนสอดห่วงเข็มขัดกันล่ะเนี่ยะ แต่ว่าแน่นอนว่าการแก้ปัญหาแบบนี้กระทำเป็นประจำทุกเช้า จนต้องมานั่งคิดว่า "การแก้ปัญหาเรื่องนี้ มันมีวิธีการแก้ที่ง่ายกว่านี้เหรอป่าว?" ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วถ้าหากว่าคุณคิดเพิ่มมัน "มี" ครับ จริงๆแล้วขอแค่คุณถามตัวเองเท่านั้นเองว่า วิธีง่ายเนี่ยะมันมีเหรอป่าว มีเหรอป่าวๆๆ .. แล้วคิดๆมันน่ะครับ มันจะหาเจอครับผม และแล้วก็คิดออกจนได้ วิธีการก็แค่ว่า ก่อนใส่เข็มขัด ก็ถอดเอาห่วงเข็มขัดออกมาแล้วก็แนบไว้กำกางเกงตำแหน่งที่จะให้มันอยู่ไม่ต้องเอาไปลอดหูกางเกงหรอก แล้วก็เอาเข็มขัดสอดเข้าหูกางเกงแล้วก็ผ่านเข้าห่วงก็เสร็จแล้ว เท่านี้เอง .. กลับมาภาพขยาย scale ความเดือดร้อน ถ้าหากว่าคุณเจอปัญหา แล้วแน่ใจว่ามันเป็นปัญหา แล้วคุณคิดวิธีการแก้ปัญหาออก อย่าเพิ่งดีน่ะครับว่า มันเจ๋งแล้วครับ เพราะถ้าหากว่าคุณรู้สึกว่ามันยังยากอยู่ขอให้เริ่มทันทีเลยน่ะครับ ว่ามันมีวิธีการที่ง่ายกว่านั้นหรือไม่ (แน่นอนว่ามันต้องมีแค่ว่ามันจะคิดออกหรือไม่เท่านั้นเอง) ประเด็นคือ คุณต้องจำไว้ว่า ต้องถามตัวเองประโยคนี้เท่านั้นเองครับ ไม่งั้นคุณอาจจะพลาดเสียพลังงานไปเยอะแยะมากมายโดยแก้ปัญหาได้เหมือนกันเมื่อเทียบกับวิธีการที่ฉลาดกว่ายังไงล่ะครับ (โง่ก่อนฉลาดทีหลังออกแนวประมาณนั้นครับ)


- สิ่งทื่คิดอยู่นั้นมันมีสมมุติฐานใดๆซ่อนอยู่หรือไม่ : ระหว่างทางในการคิดว่ามันเป็นปัญหาหรือไม่ รวมทั้งการคิดหาแนวทางแก้ปัญหา ประสบการณ์ของคุณโดนดูดมาเพิ่มประมูลผลในหัว (เหมือนกับ CPU computer ที่มันกระพริบๆที่คอมคุณน่ะหละ) สิ่งที่พึงระวังอย่างที่สุด ! คือ

1.สิ่งที่คุณเชื่อจนคุณคิดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นจริง
2. Bias จากอารมณ์ (จริงๆแล้วมันจะมีเยอะแยะแยกได้หลายอย่างแต่หลักๆที่กระทบคือ Bias จากอารมณ์ครับ ความคิดไม่นิ่ง มีจริตคิดว่าคุณนู้นดี ความคิดนั้นไม่ดี คนอื่นโง่กว่า ตัวเองฉลาดสุดๆ (ถ้าหากว่าคุณตอบคำถามรายการ mega clever ฉลาดสุดๆถูกทุกข้อคุณค่อยคิดว่าตัวเองฉลาดสุดแล้วกันนะครับ) หงุดหงิดหรือแม้กระทั่งง่วงนอน)
3. ควาทรงจำที่ผิดพลาดจนคุณเหมาเอาว่าเป็นประสบการณ์จริง (เป็นการบิดเบี้ยวจากควาทรงจำ)
4. สิ่งที่คุณไม่เชื่อ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้รับการพิสูจน์ แต่คุณก็ไม่เชื่อมันจริงๆอยู่ดี

จากข้อ 1 - 4 ที่กล่าวมานี้ คุณจะเห็นได้ว่าคุณแทบไม่รู้ตัวเลยว่าอะไรจริงอะไรเท็จ อะไรเป็นสมมุติฐาน แล้วอะไรเป็นความจริงที่ได้พิสูจน์แล้ว ถ้าหากว่าใครรู้จักผมจริงๆ แล้วมีคนมาถามเรื่องนู้นเรื่องนี้กับผม แล้วผมไม่รู้ผมจะบอกว่าไม่รู้ต้องหาข้อมูลก่อน หรือบอกว่าไม่แน่ใจ เพราะว่าผมรู้ว่าถ้าหากว่าผมพูดมั่วมากเกินไป หรือว่าพูดบอกไปเลยจะทำให้การวิเคราะห์โดย CPU คนอื่นผิดพลาดได้เนื่องจากแหล่งข้อมูลโดยบิดเบียน ซึ่งผมก็โดนเป็นประจำ มันแย่กว่าการคิดโจทย์ผิดซะอีก คุณคิดถูกจากการได้ข้อมูลที่ผิดพลาดมันน่าเจ็บจี้ดเหรอป่าวล่ะครับนั่น

ความสามารถในการแยกแยะความจริง สมมุติฐาน unknown และความเชื่อออกจากกันได้อย่างสมบูรณ์เป็นทักษะที่ต้องฝึกไม่มีใครบอกคุณได้หรอกว่าคุณจะต้องแยกมันยังไง เพราะผมก็ไม่รู้หรอกว่าคุณผ่านอะไรมาบ้าง อยากจะให้ระลึกไว้เสมอว่า สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลของ CPU ในหัวใบเล็กๆของคุณ แล้วคุณจะแก้ปัญหาของโจทย์ที่ถูกต้องอย่างชาญฉลาดครับผม ฝึกฝนกันต่อไป ...

[ เนื้อความนี้สามารถ copy เผยแพร่หลายราญได้อย่างไม่จำกัด เอาไปปะไว้ได้ทุกที่ทุกเว็ปครับไม่ต้องให้ credit ใดๆ ไม่ใส่ใจแค่อยากให้ระวังกันให้มากเป็นดีครับผม ^_^ จาก คนเขียน blog : http://rackmangerpro.com และ http://rackmanager.blogspot.com ]

No comments: