Wednesday, August 19, 2009

slow motion thinking : การคิดเพื่อให้มุมมองอื่นๆมากกว่าผู้ส่งสารต้องการที่ส่ง

หลายต่อหลายครั้งผมได้มีโอกาสอธิบายเรื่องที่ดูเหมือนกับว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดแต่ไม่ได้มีคนสังเกตสิ่งเหล่านั้นออกมาแล้วเล่าถอดความเหตุและผลเพื่อให้ความกระจ่างกับสิ่งธรรมดานั้น การอธิบายสิ่งที่ดูเหมือนปกตินั้นออกมาได้ ถือได้ว่าต้องอาศัยความช่างสังเกตและการคิดผูกเชื่อมเรื่องเข้าด้วยกัน กับประสบการณ์และจินตนาการ หนังสือเยอะเล่มก็เล่าเรื่องประเภทนี้ และนึกคิดเยอะคนก็สำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ออกมาเป็นตัวหนังสือเช่นเดียวกันเพื่อให้คนที่ชอบอ่านได้คิดตามแบบ slow motion ที่ผมว่ามันเป็น slow motion ก็เพราะว่า ตอนที่อ่านจะอ่านช้าหรือจะอ่านเร็วก็ได้ อีกอย่างคนเขียนก็เขียนให้ยืดให้ยาดโดยมีประเด็นสาระสำคัญเพียงประเด็นเดียวก็ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องดีเพราะจะทำให้คนที่ยังคิดตามไม่ทันเกิดภาพคำนึงคิด ฟังเหตุและผลติดตามเนื้อหาเพื่อกลั่นสาระสำคัญออกมาในหัวของคนอ่านได้ในท้ายที่สุด สังเกตได้ว่าไม่กี่ประโยคล่าสุดที่คุณๆได้อ่านผ่านไปก็เป็นการบรรยายภาพการถ่ายโอนความคิดจากคนเขียนผ่าน text ผ่านตาไหนผ่านการประมวลเข้าหัวของคนอย่าง slow motion อีกนั่นเองและผมก็ไม่ได้พิมพ์ครั้งเดียวซะด้วย ถ้าหากว่าอ่านดีๆผมพิมพ์เล่าไปแล้วสองครั้งว่ามันเกิดอะไรขึ้นระหว่างการสื่อสารของคนเขียนและคนอ่าน

ดังนั้นแล้วทักษะสำหรับการสังเกต การเล่าเรื่องอธิบายสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราต้องเริ่มจากการคิดและเขียนเล่าออกมาได้แบบ slow motion เพื่อให้คนอ่าน get idea เราได้ไม่ยาก สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะฝึกกันได้โดยการเริ่มสังเกตความคิดของตนเองแล้วเขียนมันออกมาเหมือนกับที่ผมสังเกตความคิดในประเด็นนี้แล้วร่ายมันออกมาเป็น text ที่คุณๆได้เห็นอยู่นี้

นอกจากนี้เมือเรามีทักษะในการคิดแบบ slow motion แล้วเราจะได้รับประโยชน์ในหลายมิติด้วยกัน เช่น ความสามารถในการสังเกตเห็นในสิ่งที่คนอื่นๆมองไม่เห็น ไม่เคยคิดแบบนั้นมากขึ้น คุณจะเริ่มมีความคิดที่คุณไม่คิดว่าตัวคุณเป็นคนคิด เหมือนกับว่า คนอื่นที่อยู่ในหัวคุณอีกสองสามคนคิดออกมา คุณจะได้ความคิดแนวคิดใหม่ๆที่ออกมาจากความคิดใต้สำนึกแปลกๆที่เป็นมุมมองที่แม้กระทั่งตัวคุณเองปกติคุณจะไม่ได้คิดอย่างงั้นอยู่แล้วหรือว่าถ้าหากว่าคุณคิดกับประเด็นอะไรมากๆคุณจะไม่คิดออกมาอย่างงั้นแน่ๆ เรียกง่ายๆก็คือ ถ้าหากว่าคุณเจอโจทย์ใดๆในโลก ความคิดต่อโจทย์นั้นของคุณจะมีได้มากกว่า 1 มุมมอง มันเป็นมุมมองอิ่นๆที่คุณจะไม่ได้ออกแรงคิดมากมายอะไรนัก มันเหมือนกับว่ามันออกมาได้เองจากคนอื่นๆที่อยู่ในความคิดคุณ แต่ขั้นตอนถัดไปเมื่อคุณคิดได้อย่างนั้นแล้ว การอธิบายออกมาด้วยภาษาแม่ที่คุณมีก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคุณคิดแล้วคุณไม่สามารถที่จะเล่าออกมาเป็นฉากๆหรือทำการอุปมาให้คนอื่นเห็นภาพได้แล้ว คุณก็จะรู้เรื่องนั้นอยู่คนเดียวด้วยภาพในหัวของคุณทีไม่คมมากนัก ความคิดที่ตัวคุณจากมุมมองอื่นๆจะให้ภาพที่ไม่ชัดเจนมากนักจนกว่าคุณจะเล่าให้คนอื่นฟังออกมาได้ (หากเป็นเรื่องที่ไม่มีความซับซ้อนจนเกินไป) เมื่อคุณเล่าออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นพูดหรือการเขียน (สำหรับผมแล้วแนะนำการเขียนเพราะเป็นการ capture ที่เห็นภาพความคิดได้ชัดที่สุด เพราะตอนที่เรียบเรียง text ออกมาครั้งมันกลั่นความคิดแบบถยอยปล่อยออกมาทำให้ไม่เกิดความสับสนมากนัก ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนสุดท้ายก็แล้วแต่คนอยู่ดีว่าเค้ามีการฝึกมากไปทางไหนก็จะมีความชำนาญในด้านนั้นมากกว่าอย่างแน่นอน)

ประโยชน์อื่นๆที่คุณจะได้รับจากการฝึกคิดแบบ slow motion นี้ได้ก็คือ คุณสามารถตีความเนื้อความที่คนอื่นสื่อสารออกมา ไม่ว่าจะการสื่อสารด้วยการพูด หรือ การเขียน แล้วคุณสามารถที่จะถอดความไปในมิติอื่นๆ นอกเนื้อไปจากเนื้อความนั้นได้อีกด้วย เรียกว่า "การต่อยอดความคิด" จริงๆแล้วไม่ได้เป็นยอดอะไรหรอกเพราะถ้าหากว่าเป็นยอดจริงๆมันมีทิศทางเดียว แต่ว่ายอดที่อธิบายอยู่นี้เป็นยอดเหมือนยอดหนามที่มันมีเยอะยอดมากๆแล้วแต่ว่ามุมมองอื่นที่คุณถอดความออกจากเนื้อความนั้นจะเอาไปคิดได้มากน้อยแค่ไหน การคิดต่อยอดแบบนี้หลายคนคงคิดว่าน่าจะเป็นการคิดแบบว่า .. เมื่อเราได้รับสารสื่อนั้นแล้วเราจะปรับใช้กับตัวเราได้อย่างไร ? ผมบอกให้ว่ามันไม่ใช่แค่นั้น มันไม่ได้จำเป็นต้องปรับใช้กับตัวเรา หรือว่าจะหาประโยชน์อะไรกับเนื้อความนั้นได้หรือไม่ มันไม่จำเป็นต้องคิดเข้าข้างตัวเองอย่างงั้นตลอดเวลาเพราะการคิดต่อยอดนั้นต้องคดิให้เยอะแฉกมากที่สุด ไม่ได้หวังผลแต่ตัวเรา มันเป็นการตัด scope ความคิดเกินไปทำให้เราอาจจะไม่เห็นมุมมองจากมิติแนวคิดอื่นๆที่ตัวเราจะโพร่งออกมาได้ ง่ายๆคืออย่าคิดว่าจะเอาประโยชน์อะไรจากเนื้อความนั้น ณ เวลานั้น ให้คิดให้เยอะมุมมองที่สุดก่อนแล้วอยากคัดกรองเอาอะไรเข้าตัวทีหลังก็ไม่เป็นไรอยู่แล้ว ช้ากว่าแค่เสี้ยวความคิดเดียวเองมันก็ไม่ได้นานมากเท่าไหร่หรอกว่าเหรอป่าวล่ะครับ

การคิดต่อยอดหรือถอดความในมุมอื่นๆได้นั้นจะทำให้คุณเก็บประโยชน์จากประโยคคำถามหรือคำพูดของคนอื่นได้เพิ่มเติมแม้ผู้พูดหรือผู้เขียนนั้นจะไม่ได้ต้องการที่จะสื่อสารแบบนั้นก็ตาม ทั้งหมดนี้เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นและคุณคิดออกมาได้จากมุมอื่นๆนั้น อาจจะเป็นแนวคิดที่ยิ่งใหญ่เปลี่ยนชีวิตคุณเลยก็ได้มันไม่แน่หรอกครับ

No comments: