reference article : กดอ่านก่อนที่นีเลยครับ
มีความคิดแวบออกมาชั่วครู่หนึ่งหลังจากที่อ่านบทความเกี่ยวกับ Brand ฮวงจุ้ย ซึ่งก็ในเนื้อหานั้นจะมีการเขียนบอกเกี่ยวกับความแตกต่างของ product สินค้า และมีอีกประโยคที่กล่าวเอาไว้สั้นว่า "ต้องเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้บริโภค" ถ้าหากว่าคิดย้อนไปย้อนมา แล้วจะคิดออกได้ว่า คนเราไม่ได้ต้องการความแตกต่างของการใช้งานสินค้านั้นๆแต่อย่างใด แต่อยากจะเหมือนกลุ่มคนหรือคนที่อุดมคติตามความคิดนั้นๆต่างหาก
คิดง่ายๆเช่นว่า พวกเป็น Aspirers (จากบทความ) มีความต้องการขับรถราคาแพงดูดีโก้เก๋ เพราะ คนเหล่านั้นไม่ได้ต้องการความแตกต่างจากคนอื่นๆในสังคมแต่อย่างใด แต่กลับต้องการจะ "เหมือน" กับคนที่คิดว่าเค้าน่าจะเป็นหรือต้องการจะเป็นมากกว่า ลองคิดเล่นๆดูนะครับว่าถ้าหากว่ากลุ่ม Aspirers นี้หันมาขี่รถเพื่อประหยัดพลังงานกันหมด โดยโยนทิ้งความคิดเก่าๆว่าต้องเป็นรถที่ดูดีโก้เก๋ตามความคิดเดิมออกไป แต่กลับมองว่าการขับรถที่ประหยัดพลังงานกลับเป็นเรื่องโก้เก๋ฉลาดสุดๆเช่นเป็นรถเก็บพลังงานได้ตามเหยียบเบรคหรือเป็นการใช้ไฟฟ้าเข้ามาแทนการใช้น้ำมันเพื่อเผาเป็นพลังงานของรถยนต์ คนอื่นๆในกลุ่มนี้ก็จะคิดว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องโก้เก๋ หรือความรู้สึกๆใดๆที่ทำให้ตัวคนเหล่านั้นรู้สึกดีกลับมัน และแล้ว ความคิดนี้ก็จะ "แพร่ออกไป อย่างกับ virus H5N1" ยังไงอย่างงั้น
แม้กระทั่งผมคิดมาว่า ถ้าหากว่าพวกที่ต้องการความแตกต่างมันหน้าตาเป็นยังไง พวกศิลปินอย่างงั้นหรือ ? แล้วคิดหรือครับว่าเค้าอยากจะแตกต่างจากภาพลักษณะของการเป็นศิลปินที่ตัวเองรู้สึกไปเองว่าแตกต่างจากคนอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ศิลปิน แต่กลับคิดว่าเค้าเหมือนกับศิลปินคนอื่นๆ) ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การคิดและการมองเห็นสินค้าต่างๆเชิงคุณลักษณะและภาพลักษณ์
แล้วอย่างงี้จะคิดอีกเหรอครับว่า "คนเราต้องการความแตกต่างหรือต้องการที่จะเหมือนกลุ่มคน หรือ คนที่อยู่ในอุดมคติของเค้าเหล่านั้นกันแน่ !"
ขอบคุณสำหรับ concept ความคิดเพื่อให้คิดต่อแตกยอดครับ อาจารย์ สรณ์ จงศรีจันทร์ เจ้าของบทความที่ผมอ้างอิงมาจาก website Marketeer.co.th
No comments:
Post a Comment