Blue Ocean Strategy เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ผมอ่านจบไปนานมากแล้ว แล้วก็ยังจำได้ว่ามันยังคงมีอิทธิพลทางความคิดกับตัวผมเองมายังปัจจุบันครับ นอกจากนี้ล่าสุดก็มีการอัดฉีดความคิดซื้ออีกครั้งหลังเข้าสัมนากับทาง ksme วันที่ 18 มีนาที่ผ่านมา แนวคิดหลักจะเป็นเหมือนกับว่า “ทำอย่างไรเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการใหม่ที่แม้กระทั่งลูกค้าเองไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเป็นสิ่งที่เค้าเหล่านั้นต้องการ” คิดไปคิดมามันก็ไม่ได้เป็นถึงขนาดนั้นหรอก เพราะว่า เดี๋ยวนี้ลูกค้ามีความคิดความอ่าน และ แสดงออกถึงความต้องการได้ดีกว่าแต่ก่อนมาก ผ่าน blogging หรือว่า comment จากกระทู้ต่างๆ หากว่าหาเจอเท่านั้นครับ ความต้องการเหล่านี้มันจะผุดขึ้นมาเมื่อได้มีการทดสอบทดลองใช้สินค้าหรือบริการต่างๆมาแล้ว ความคิดและความต้องการเพิ่มเติมของลูกค้า หรือ คนใช้บริการ คนซื้อ อะไรก็สุดแล้วแต่รจะเรียกจะผุดออกมาเป็นดอกเห็ด และ สำหรับคนที่ฉลาดพอเท่านั้นจะแกะความต้องการเหล่านั้นออกมาได้ สำหรับกรณีของบริการ web application หรือ service ใดๆที่ผ่านกระทำผ่าน website นั้นจะสังเกตเห็นได้ว่ามีลักษณะความเป็น beta ความหมายมีสองนัย คือ ทดสอบให้คนใช้งานได้จริงๆเพื่อดูว่ามันจะเจ๋งหรือเจ้งอะไรตรงไหนบ้าง แต่อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ต้องการ feedback ความสามารถ ความต้องการ และความคิดเห็นเพิ่มเติมจากคนที่ได้ลองใช้มาแล้วครับ เราไม่รู้หรอกว่าเราต้องการอะไรจนกว่าจะได้เห็นหรือว่าได้ใช้มัน การสร้างอะไรก็ตามที่เป็น beta ออกมาเพื่อให้ได้ลองได้ใช้ แล้วแกะความต้องการนั้นออกมาได้เป็นวิธีแบบประนีประนอม คือ ลูกค้าไม่ได้ถึงกะไม่ได้เคยใช้เลย แต่ว่าลูกค้าเอาก็ไม่ได้คิดจากศูนย์เหมือนกัน เรียกได้ว่าเป็น ความคิดการได้ สินค้าหรือบริการแบบใหม่แบบกลางๆครับ
เนื้อหาของ Blue Ocean Strategy จะเป็นการกำหนดแนวคิดเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการใหม่อย่างเป็นระบบ เพียงแต่ว่าจะคิดได้จากประเด็นอะไรบ้าง แต่ไม่ได้บอกว่ามันคืออะไร แน่นอนว่าแต่ละคนจะมีประสบการณ์ความคิดที่แตกฉานแตกต่างกันไป ทำให้ผลที่ได้ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะมีอะไรออกมาใหม่หรือ หรือว่า ถึงแม้ว่ารู้วิธีหรือแนวคิดแล้วจะคิดอะไรออกมาใหม่ แล้ว ทำให้เป็น product หรือ service ที่สร้างประโยชน์ให้แก่ชาวโลกได้อย่างแท้จริงหรือไม่ สุดท้ายก็ต้องใช้ความเชื่อเท่านั้น เพราะอย่างที่รู้กัน มันไม่เคยมีความคิดแบบนั้นมาก่อนนี่หน่า แล้วจะเอาอะไรมาประเมินล่ะ .. การประเมินความเป็นไปได้วามันจะ work หรือไม่ work นั้นมันก็สามารถทำได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้นแต่ก็ยังบอกอย่างชัดแจ้งไม่ได้นั่นเองแต่ว่า ความเชื่อเท่านั้นที่มันจะบอกคนที่ออกแรงดันผลักสินค้าหรือบริการนั้นออกมาให้เป็นตัวตนได้จริงในท้ายที่สุด
แต่เดิมคิดออกมาได้ยังไง?
แต่ไหนแต่ไรมาความคิดสร้างสินค้าหรือบริการใหม่มันก็มีอยู่แล้วครับ แค่ว่ามันไม่ได้คิดอย่างเป็นหลักการเท่านั้นเอง เรียกว่า “มันลอยมา” อยู่ๆก็คิดได้ สำหรับผมเองก็เจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ ว่ามันลอยมา เราออกแรงคิดอย่างมีสติสัมปชัญญะไม่ได้ครับ ในหลายๆเรื่อง เพราะ เราลืมตาอยู่ เรากำลังคิดอยู่ สมองออกแรงด้วยเศษเสี้ยวของสมองอยู่ ที่เหลือมันหลับไม่คิดไม่ได้ใช้ครับ (ผมเชื่ออย่างงั้นอยู่เหมือนกันนะครับ) ลักษณะความคิดสินค้าใหม่มันเป็นแบบ wishful thinking คิดอยากให้มีอยากให้เป็นแบบเวทมนต์เลย แล้วมันก็ลอยมาเองครับ หาเห็นโอกาสได้เองจากประสบการณ์ที่ผ่านมาหรือจากการกระตุ้นใช้งานอยู่บ่อยๆ ทำให้สมองโหลด ความคิด จับเชื่อมข้อมูลต่างๆได้เอง มันไม่ได้เป็นความสามารถของบุคคลหรอก มันเป็นความสามารถของสิ่งที่เรามองไม่เห็นตะหาก ลอยมา เสกมา มาเองก็เยอะแยะครับ
แล้วแนวคิด BOS (Blue Ocean Strategy) มันคิดยังไงกันเนี่ยะ?
เริ่มตินไม่ยากน่ะครับ เราต้องรู้ซะก่อนว่า เรายืนอยู่ที่ไหน ธุรกิจที่เหมือนว่าจะเป็นเป้าหมายเพื่อให้เราเทียบเคียงได้มันน่าจะเป็นอะไร ? ที่ผมต้องบอกแบบนี้เพราะว่า ถ้าอ่านจากหนังสือหรือที่เรียนมา เค้าจะมีการอธิบายถึงแผนภาพผ้าใบ(ก็กราฟดีๆน่ะหละ) ครับ แล้ววก็จะแสดงเส้นให้เห็นอย่างน้อยก็ต้องสองเส้นเหมือนว่าอยากจะเปรียบเทียบกับ่สินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้ว ที่เราจะคิดใหม่ ทำใหม่ (ไม่มีการเมืองนะครับ) อะไรแบบนี้น่ะครับ ผมจริงเลยอาจจะบอกแค่ว่า ต้องโมเมมาเหรอป่าวที่จะเลือก business หรือธุรกิจข้างเคียงมาเทียบเคียง อาจจะพิจารณาจากว่ามันเป็นสินค้าที่ทดแทนกันได้ หรือ คิดจากคู่แข่งทางอ้อม ก็ได้น่ะครับ คู่แข่งทางอ้อมก็เช่น สมมุติว่า ผมคิด microwave ได้คนแรกของโลก (แอ้ะ ผมก็ยังต้องคิดก่อนหน้านี้ว่า แล้วผมจะคิดทำ microwave ไปทำอะไรกันเนี่ยะ) ลองนึกเองย้อนเองไปว่า ตอนนั้นมีการ cooking แบบไหนบ้างแล้วมันจะดีกว่ามั้ยถ้ามี application ของ microwave ออกมาได้ เพราะงั้นหลังจากที่ผมพิมพ์ไปคิดไปตะกี้นี้จะเห็นได้ว่า หากว่ามันเป็นเรื่องใหม่มากจริงๆ สิ่งที่คิดเทียบจะได้แค่ว่า คิดเทียบกับอะไรที่คล้ายๆเท่านั้น ไม่สามารถหาอะไรตรงๆมาคิดเทียบได้ครับ
ว่าด้วยผืนผ้าใบแกนเอ็กซ์ : พอคิดได้ว่าจะเทียบกับอะไรดีที่คล้ายๆหรือว่าอยากจะแข่งด้วยจังก็ ต้องคิดต่อไปว่า “ของเหล่านั้นลูกค้าซื้อไปเพราะว่าอะไรกันเนี่ยะ?” แสดงออกมาเป็นรายการเลยครับ เอาแบบที่ว่า มันเป็นตัวตัดสินใจจริงๆ ข้อมูลนี้ผมว่า เราคิดเองเออเองก็ได้ไม่ยากน่ะครับเพราะว่าถ้าหากว่าเราก็เป้นส่วนหนึ่งของการเลือกซื้อ หรือว่าเคยเลือกซื้อหรือไม่เลือกซื้อเราก็จะรู้อยู่เหมือนกันว่า เค้าดูอะไรกัน ผมยกตัวอย่างดีกว่า ที่ผมเจอล่าสุด คือ มือถือผมก็มี set ว่าผมจะดูอะไรบ้าง เช่น ราคา ขนาดน้ำหนัก แล้วก็ความสามารถเจ๋งๆของเครื่องต่างๆนาๆ มันเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อและไม่เลือกซื้อสินค้ามือถือของผม เป็นต้น แต่ว่าพอผมไปถึงร้านผมสังเกตว่า ผมเอามือถือไป turn (เพื่อที่จะได้ตัวใหม่) แล้วสิ่งที่เค้าตรวจเป็นคนละเรื่องกับที่ผมเลือกที่จะซื้อ (เค้าดูว่ากล้องยังชัดหรือเปล่า เป็นต้น ทำไมผมไม่ดูเรื่องกล้องน่ะเหรอครับ เพราะว่าผมไม่ได้ใช้นี่หน่า แต่ว่าคนอื่นเค้าดูน่ะครับ ทางร้านมีประสบการณ์มากกว่าผมเป็นไหนๆเพราะว่าเค้าเห็นพฤติกรรมการเลือกซื้อทุกวันทุกๆ deal ที่มีการซื้อขาย) ร้านค้ามีประสบการณ์เยอะกว่าผมมากว่า “คนทั่วไป” เลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นด้วยเหตุผลอะไร เพราะงั้นหากว่าคุณไม่ได้เป็นคนที่มี sense ในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจริงๆอย่าเอาตัวเองเป็นมาตราฐานหรือบรรทัดฐานว่า คนอื่นเค้าจะเลือกเพราะเหตุผลเดียวกับตัวเองจริงๆครับ ถามเยอะๆ ถามคนให้เยอะที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จะทำให้ แกน x บนผืนผ้าใบมันสะท้อนสิ่งนี้ได้จริงๆ นั่งเทียนเอามันก็เร็วดีแต่ว่าเรามั่นใจได้เหรอป่าวเนี่ยะ นั่นน่ะหละครับ คำถามที่คุณต้องถามตัวเองด้วย เพราะฉะนั้น คนคิดข้อมูลแกนนี้จะต้องเป้นคนที่กระแทกกับลูกค้าตรงๆจะมี sense เรื่องนี้มากที่สุดครับ มันเป็นวิธีการลัดๆ กว่าที่จะไปถามแต่ละลูกค้า เพราะ คนที่กระแทกลูกค้านั้นจะเห็นลูกค้าไม่ได้แค่คนเดียวครับผม หรือ คุณอาจจะเก็บข้อมูลจากลูกค้าก็ได้ นั่นก็แปลว่าคุณน่ะหละกะลังทำตัวเป็นคนกระแทกลูกค้ายังไงอย่างงั้นก็ได้น่ะครับ แล้วแต่ว่าอยากออกแรงมากน้อยแค่ไหน
ว่าด้วยผินผ้าใบแกนวาย : แกนตั้งสำหรับกราฟนั้นจะบอกแค่ว่าสินค้าหรือบริการนั้นนำเสนอปัจจัยแกนเอ็กซ์ได้มากน้อยแค่ไหน ประเด็นนี้เริ่มนั่งเทียนอีกแล้วว่า แล้วจะเอาอะไรเป็นมาตราฐานว่า แบบนี้เรียกว่า ดี หรือ ว่าแย่ หรือไม่ค่อยเท่าไหร่ high หรือ low หรือ ธรรมดา ผมก็เริ่มคิดต่อไปว่า งั้นเอาแบบนี้ดีกว่า เราคิดเป็นข้อมูลที่แน่นอนไม่ได้แต่ว่าเราสามารถเทียบได้นี่หน่า เทียบเอามันก็ไม่ยากเนาะ เช่น สมมุติว่า เรากำลังคิดเรื่องความเร็วในการเดินทางจาก กทม ไป เชียงใหม่ แอ้ะ ผมยกตัวอย่างนี้ไม่ดีเท่าไหร่เพราะว่ามันประเมินได้ เป็นตัวเลขด้วยซ้ำก็คือ ระยะเวลาในการเดินทางครับ แต่ว่าสิ่งที่สะท้อนในกราฟมันไม่น่าจะเป็นตัวเลขแบบตรงๆครับผม ผมกำลังบอกว่าให้ประเมินเอาว่า เร็วแบบนี้มันดีต่อลูกค้าแค่ไหนมันไม่ได้ตรงๆน่ะครับแบบนี้ เอาเป็นว่าเอาแค่ให้รู้ได้ว่าอันไหนดีกว่าอันไหนเท่านั้นก็พอแล้วครับ
เพราะว่าอะไรน่ะเหรอครับ สิ่งที่เราต้องการจากกราฟไม่ใช่ว่าเอาสินค้าหรือบริการมาแข่งกันครับ แต่ว่าเราเอามาเพื่อที่จะดัดหรือบิดหรือยึดหดขยายทั้งทางแกน y และ แกน x ออกจากกัน ต่างหาก เป้าหมายคือ สินค้าหรือบริการที่จะออกแบบใหม่นั้นมันต้องหน้าตาลวดกราฟนี้ไม่เหมือนเดิม เอามันให้เพี้ยนไปจากเดิม ทุบมันงอมันหักมัน แล้วก็เพิ่มยืดมันออกไปตามแกน x (คือเพิ่ม ตัวแปรแกนเอ็กซ์เพิ่มไปอีก ลูกค้าไมเคยมองก็มามองซะ ยกตัวอย่างเช่น มือถือไม่เคยมีกล้อง กล้องกลับกลายเป็นปัจจัยที่ถูกพิจารณาคุณค่าซะงั้นในปัจจุบันเป็นต้น) ในความคิดผมเองนั้น minimum requirement เพื่อให้ได้สินค้าที่แปลก work ออกไปแค่ดัดแกน Y ก็น่าจะใช้ได้แล้วครับ แต่จะเจ๋งกว่านั้นถ้าผมเพิ่มแกนเอ็กซ์ๆ ให้มัน xxx เพิ่มไปหลายปัจจัยได้ก็จะดีน่ะครับ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับฟ้าประทานน่ะครับ
สำหรับวิธีการเพื่อออกแรงสมองส่วนจิตสำนึก เพื่อให้ได้กราฟที่บิดเบี้ยวออกไป BOS มีแนะนำกระบวนการเอาไว้ด้วยครับ คือ
ลด , สร้าง , เพิ่ม , กำจัด (เหมือนเป็น keyword พวก 5 ส อะไรแบบนี้น่ะครับ)
ลด : ปัจจัยหรือกิจกรรมอะไรที่เราลดให้ต่ำกว่ามาตรานอุตสาหกรรมหรือมาตราฐานสินค้า ที่ผมเข้าใจ เช่นว่า ลดคุณภาพสินค้า ลดบริการ .. แล้วแต่จะลด รวมทั้งลดราคาก็ได้น่ะครับ แต่ว่าต้องเข้าใจ่ด้วยว่าที่เราลดเพราะไม่ได้ลดเพราะการแข่งขันกันอยู่กับตลาดเดิม เราลดเพื่อสร้างตลาดใหม่นะครับ
กำจัด : ปัจจัยอะไรที่จะไม่มีอีกต่อไป ไม่ต้องให้เป็นปัจจัยเพื่อให้ลูกค้าพิจารณาอีกต่อไป เราก็ไม่ต้องมี ลองไม่มีดู (แหมแค่คิดมันลองกันได้นะครับ) เช่นถ้าจากที่เรียนมาก็คือ เช่น wine กำจัดเรื่องของระยะเวลาในการบ่มหมัก ซึ่งปกติคนเราจะดูนะครับ เค้าว่าอย่างงั้นผมไม่ได้เป็นคนกินไวน์ไม่รู้หรอก เอาเป็นว่าอะไรกำจัดออกไปได้(หรือไม่ได้ในใจคุณ) ลองคิดกำจัดมันดูครับ
สองประเด็นข้างต้น คือ ลด และ กำจัด มันขัดความคิดคนปกติที่คิดอะไรแบบเดิมๆเพื่อให้แข่งขันกันในตลาดเดิมๆเอามากๆครับ เพราะเรากำลังบอกว่าเราต้องพัฒนา เราต้องทำให้ดี อะไรที่เป็นปัจจัยอยู่เราต้องทำให้เจ๋ง แล้วจะไปกำจัดมันได้ยังไงล่ะ ผมพูดซ้ำอีกทีดีกว่ามั้ยครับว่า “เรากำลังหาตลาดใหม่ !” คิดแบบเดิมๆมันก็เหมือนเดิมเหมือนกะที่เจออยู่น่ะหละ ปัญหาเดิมที่มันแก้ไม่ได้หรือแก้ไม่ตก มันไม่ได้ใช้ความคิดเดิมจากหัวสมองที่ใส่ข้อมูลเดิมๆประมวลผลแบบเดิมแล้วคิดเหรอว่าจะได้ความคิดอะไรใหม่ออกมา ! ผมตะโกนใส่อีกทีก็ได้น่ะครับ
สร้าง : ปัจจัยอะไรใหม่นี่เราจะสร้างเพื่อเป็นปัจจัยที่ไม่เคยถูกมามาก่อนสำหรับลูกค้าผู้ใช้สินค้าหรือผู้รับบริการครับผม
เพิ่ม : ตรงข้ามกับลดยังไงน่ะครับ อ่านลดอีกครั้งแล้วกัน .. มันก็แค่ขยับกราฟจะเพิ่มหรือจะลดมันก็คิดได้สองทางครับ
วิธีคิดมันไม่ได้คิดมาจาก ลด สร้าง เพิ่ม กำจัด ได้ซะทีเดียวครับ มันต้องผนวกกับการคิดสินค้าหรือบริการแบบยกเมฆด้วยส่วนหนึ่งแล้วเอามาคิดเทียบว่ามันมีอะไรลดเพิ่มสร้างกำจัดอะไรไปจากแนวคิดที่ว่าครับผม หรือ อีกวิธีก็คือ คุณแค่ลองคิด ลด เพิ่ม สร้าง กำจัด มันดูแล้วจินตนาการสินค้าหรือบริการแบบนั้นออกมาให้เป็นรูปเป็นร่างเอาก็ได้ สำหรับวิธีการแล้ว อิสระไร้รูปแบบ และมันก็ พริ้วไหวดั่งสายน้ำครับผม
คิดได้เท่านี้คุณแทบไม่ต้องวาดกราฟลงไปอีกก็ได้แต่ว่าถ้าอยากรู้ว่ามันออกมาหน้าตาเป็นยังไงเหมือนกราฟราคาทองหรือตลาดหุ้นเหรอป่าวก็วาดลงไปก็ได้ไม่มีใครว่าอะไรครับ เราก็จะเห้นได้ว่ามันแตกต่างหน้าตาไปแค่ไหน แต่ประเด็นมันไม่ได้อยู่ทึ่ตรงนั้นน่ะซิ ปรากฏว่า สิ่งที่คิดออกมาได้นั้น โดยรวมแล้ว “มันต้องได้จุดขายออกมาเป็นคำพูด อธิบายให้คนอื่นรับรู้ได้” เพราะถ้าหากว่าคุณปรับกราฟแล้ว คุณเองก็ไม่รู้ว่า อะไรเป้นจุดขายของมันแล้วล่ะก็ไปบิดกราฟอีกรอบจะดีกว่าน่ะครับ อย่าคิดต่อให้เปลืองพลังงานและเวลาเลยครับ ไม่มีจุดขายแล้วจะขายอะไรล่ะนั่น โอ้ว . ไปวนกันใหม่น่ะครับ
ภาพรวมกว่านั้นสินค้าหรือบริการที่ออกมามันจะ “สนใจบางอย่างแล้วช่าง..บางอย่างที่เป็นปัจจัยสำหรับในการเลือกซื้อสินค้าและบริการใหม่นั้นเมือเทียบกับสินค้าหรือบริการเก่าๆ” สนบางอย่างไม่สนบางอย่างมันก็คือการบิดกราฟดีๆนี่เองครับ ออกมาแล้วก็ต้องมีจุดขายไม่เหมือนชาวบ้านเค้าว่าง่ายๆ
หนทางในการคิดแค่ลดๆเพิ่มๆสร้างๆกำจัดๆ .. แล้วคิดอะไรไม่ออกอยู่ดี จะคิดแบบไหนได้อีก?
ตะกี้ที่ผมบ่นๆมาทั้งหมดเนี่ยะ ต้นเหตุของการคิดสินค้าหรือบริการใหม่มันก็ยังเป็นแบบ wishful thinking อยู่ดีหรือว่าหากว่ามองเห็นโอกาสธุรกิจอะไรได้แล้วถึงเอามาประเมินว่า มันทำให้กราฟผ้าใบแตกต่างออกไปเหรอป่าวเท่านั้นน่ะครับ แต่ว่าจริงๆแล้ว BOS นั้นมีกำหนดแนวคิดมาให้อีกตะหากว่า คุณจะคิดมันออกมาได้ยังไง ด้วยวิธีการหกประการต่อไปนี้ครับผม ..
- เส้นทางการคิดค้นหาเพื่อให้เปิดทะเลสีครามแบบที่ 1 :
ให้มองไปยังอุตสาหกรรมทางเลือก แล้วอะไรคืออุตสาหกรรมทางเลือกกันล่ะ ไม่ยากน่ะครับ อุตสาหกรรมทางเลือก มันคือ สินค้าหรือบริการใดๆที่ “ทดแทนกันได้” มันจะต่างกันแค่รูปแบบแต่ว่ามันทำหน้าที่เหมือนกัน หรือ “เป็นทางเลือกอื่นๆได้” มันจะต่างกันที่รูปแบบ และ หน้าที่ แต่วัตถุประสงค์เดียวกัน พิมพ์เองยังงงเองเลยแล้วมันยังไงกันล่ะ ? เอาอย่างงี้คึดแบบนี้จะดีกว่าครับ คือ สำหรับกรณีแรก ก็คิดซะว่า “หน้าที่เหมือนกัน” นอกนั้นต่างกันแล้วมันแทนกันได้ เช่น สมมุติผมสุ่มสินค้าออกมาจากอากาศสักอัน เช่น อะไรดีน้า .. แอร์แล้วกัน ยึดหน้าที่มันเอาไว้ในใจ (นั่นก็คือ เป่าลมเย็น ทำให้ห้องเย็น แต่ทำให้โลกร้อนเป็นของแถม) มอะไรทดแทนมันได้ล่ะ .. ก็สมมุติว่าโลกนี้ไม่เคยมีพัดลมมาก่อน ก็คิดว่า หน้าที่เพื่อให้ห้องเย็น … ผมไม่พูดถึงพัดลมแล้วกันเพราะวามันมีอยู่แล้ว ผมลองคิดด้วยกันตรงนี้เลยดีกว่าว่า หน้าที่คือ ทำให้ห้องเย็น . . เหมือนกัน แต่ว่า ..มาในรูปแบบอื่น เช่น อ้อ ..รับออกแบบบ้านให้เย็นจากธรรมชาติ มันก็ทำให้ห้องเย็นได้เหมือนกันนี่เนาะ หรือว่าคิดอย่างอื่นอีกก็กำแพงหล่อเย็นก็ได้ (ผมบัญญัติศัพท์มาเองน่ะครับ คือ กำแพงที่ทำหน้าที่ให้ความเย็นได้ ผมไม่รู้หรอกว่า มันจะออกมาเป็นยังไงแต่ว่าถ้าทำออกมาได้ก็ทดแทนได้แถมไม่ต้องมีแอร์อีก) หรือตั้งคำถามให้เน็นไปที่วัตถุประสงค์ไปเลยก็ได้ แอร์ เพื่อทำให้คนรู้สึกเย็นสบาย (จริงๆเราไม่ได้อยากจะให้ห้องเย็นหรอกครับ เราอยากจะให้ตัวเราเย็นมากกว่า) สิ่งที่คิดออกพร่านออกมาเช่น เสื้อผ้าที่ใส่แล้วเย็นดี หรือเสื้อผ้าใส่แล้วมันก็สบายดีอยู่ที่ไหนๆก็เย็น คิดเรื่องอุตสาหกรรมทางเลือก มันเน้นแค่ว่า ให้เริ่มคิดจาก หน้าที่ หรือ วัตถุประสงค์ของสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้ว แล้วก็สร้างสรรค์จินตนาการ คิดฟุ้งซ่านพร่านไปทั่ว เป็นสินค้าหรือบริการใหม่ๆออกมาได้ ตัวอย่างตะกี้ผมว่ามันไม่พร่านมากนัก ผมว่าถ้าคิดให้พร่านกว่านี้ก็น่าจะทำได้ไม่ยากครับ ต้องใส่จินตนาการเด็กๆเพิ่มเข้าไปอีก ให้ความคิดออกมามีอารมณ์สนุกสนานมากๆ มันจะได้ไอเดียอะไรเจ๋งๆอีกเยอะมากน่ะครับผม (work เหรอป่าวอีกเรื่องนึง มันจะมีเงื่อนไขเป็นเรื่องธรรมดาแต่ว่าอย่าเพิ่งไปคิดตอนนี้ครับ)
- เส้นทางการคิดค้นหาเพื่อให้เปิดทะเลสีครามแบบที่ 2 :
ให้มองไปยังกลุ่มกลยุทธ์ภายในอุตสาหกรรม : อ่านแล้วงงๆอีก ผมก็คิดว่า แท้ที่จริงแล้วมันต้องการที่จะสื่อว่า “ให้แหกกฏ” “ให้แหกเงื่อนไข” ของสินค้าและบริการที่มีหรือเป็นอยู่นั้นออกไปครับ ผมยกตัวอย่างที่ผมคิดว่า มันน่าจะคิดอย่างงี้ .. ดูสักตั้งดีกว่าครับ ในหนังสือจะมีบอกว่า ฟิสเนตต้องเป็น member แล้วก็ไปแล้วก็ไม่ค่อยได้คุยกะใคร เครื่องเรียงเป็นตับๆ หันหน้าเหมือนกัน มีผู้ชายเข้าได้ผู้หญิงเข้าได้ปนเปกันไป ลองคิดดูน่ะคับถ้าคุณจะทำฟิตเนสอีก คุณมองเห็นเรื่องพวกนี้เป็น “กฏ” เหรอปาว ความคิดแรกคุณจะเห็นว่า อ้อ.ก็เค้าทำแบบนี้กันแล้ว work นี่หน่า มันก็นาจะเป็นเงื่อนไข หรือ กฏเพื่อที่จะทำให้สินค้าหรือบริการนั้นขายได้ ขายออก ครับนั่นน่ะหละครับ มันเป็นอะไรที่ต้อง “แหก แหวก” แล้วเอาหัวมุดเข้าไปดูว่ามันก็ไม่ได้มีอะไรในกอไผ่นี่หน่า เงื่อนไขธุรกิจเหล่านั้นต่างหากที่จะเป็นตัวท้าทายว่า มันเป็นเงื่อนไขทางจิตใจที่ถูกสร้างขึ้นมาทันทีครับ ผมได้คุยกะคนยาสีฟันนะครับ ผมก็ถามเค้าว่า ทำไมไม่ทำ refill ล่ะมันไม่ต้องเป็นหลอดๆแบบนี้ได้เหรอ่ปาวเนี่ยะ .. เค้าก็บอกผมทันทีว่า มันมีเงื่อนไขเรื่องความสะอาด ดีเลยครับผม ! นั่นหละเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผมยยกตัวอย่างว่า มันเป็นเงื่อนไขหรือกฏ ที่สร้างขึ้นมาโดยไม่ได้มีใครไปแหกหรือพยายามแหวกมันเป็นต้นครับผม มันมีเรื่องเยอะแยะให้แหวกแล้วมุดเข้าไปครับ คิดเชิงนี้ผมว่ามันต้องมีอะไรเจ๋งๆออกมาสักอันซิน่า..
ตัวอย่างการคิดแหวกแบบคิดให้ดูสดๆ :
ผมยกตัวอย่างที่ผมว่ามันคงมีแล้วน่ะหละ เพราะว่าเรื่องการคิดแหวกแบบนี้มันคิดไม่ยาก ร้านข้าวแกง มีเงื่อนไขขึ้นมาในจิตนการมโนภาพเดิมๆทันทีว่า จะมีหลอดไฟส่องอาหารแสงสีนวลอ่อน ฉาบฉายไปที่ก่ทอดและบรรดาแกงรสต่างๆ อยู่ในตู้กระจกที่มีคนอีกฝั่งที่เป็นพนักงานยืนอยู่ ลูกค้าจะเอาอะไรก็ใช้ดัชนีชี้ไปทีสิ่งนั้น กับข้าวเหล่านั้นก็จะโดนตักโปะไปที่ข้าวแล้วคิดราคาตามจำนวนประเภทกับข้าวนั้น .. บรรณนาโวหารมากมายครับแบบนี้ มีที่ให้แหกเยอะเหลือเกิน ครับ ผมแหกให้ดูให้หัวผมเล่นน่ะครับ ไฟที่ติดเพื่อให้มันดูอร่อยดูสะอาดผมติด black light ได้มั้ยเนี่ยะ (ก็เหมือนกะเรื่องเอ๋อๆที่ลานโบว์ทำไมเอา blacklight ไปติดแล้วตอนคิดไม่คิดเหรอครับว่ามันจะมองเห็นลูกเหรอ่ป่าวน่ะ ) อืม..หรือว่าไม่มีก็ได้เนาะ พนักงานทำไมต้องไปยืนข้างนั้น แล้วมายีนด้วยกันไม่ได้รึไง ไม่มีตู้กระจกได้มั้ยเนี่ยะ พนักงานไม่ต้องตักให้ ผมจะตักเองก็ได้นิ ทำไมต้องเป็นแกงล่ะ เป็นเนื้อหมูของข้าวขาหมู หรือว่าเนื้อไก่ข้าวมันไก่ไม่ได้เหรอ หรือว่าเป็นอาหารอื่นๆต่างๆนาๆ ทำไมต้องเป็นข้าวเปล่าเป็นข้าวสมุนไพรไมได้เหรอ ข้าวกล้องก็ได้อ่ะ .. โม้เรื่อยเปื่อย ไม่มีข้าวไม่ได้เหรอ ทำไมต้องกินข้าวล่ะ กินสเต็กมันเลยดีกว่า หรือเป็นผักล้วนซะงั้นน่าจะดูดีมีสุขภาพนะ ทำไมต้องมาคิดเงินตามจำนวนประเภทล่ะ ผมคิดตามน้ำหนักไม่ได้เหรอ คิดตามทัพพีไม่ได้เหรอ ไม่จ่ายเหมาเอาก็ได้นะ หรือคิดตามจาน หรือไม่คิดเงินแล้วขายอย่างอื่นแทน .. พนักงานตักไม่เป็นป้าไม่ได้เหรอ ถ้าอยากจะมีเน่ยะ เป็นพวกสาวๆ cosplay ก็น่าจะดีน่ะครับ เฮอะๆ. คนเข้าไปกินเนี่ยะอายเค้ามั้ยเนี่ยะ .. (ไม่มั้งเพราะว่ายังไม่คนเข้าอาบอบนวดอยู่เลย เกี่ยวไรกันเนี่ยะ)
จะเห็นได้ว่าแค่ห้านาทีที่คิดมันออกมาได้มากมายเราสามารถที่จะปะติดปะต่อความคิดเพ้อเจ้อบ้าบิ่นและแหกกฏเหล่านั้นออกมาไปเพือสร้างเป็นสินค้าข้าวแกง(หรือมันเป็นอย่างอื่นไปแล้ว) ได้ไม่รู้จบ แล้วก็ย้อนกลับไปดูประเมินปัจจัยบนผ้าได้ไม่ยากครับ แต่ว่าจริงๆมันสนุกตรงที่คิดกระเจิงนี่หละครับ และจริงๆผมว่า การคิดแบบเส้นทางที่สองแบบนี้ น่าจะทำได้ง่ายสุดๆแล้วสำหรับคนที่ทั่วไปที่ยังมีจิตนาการอยู่ครับ (แนะนำให้เล่นเกมส์ต่อไปเพื่อส่งเสริมจินตนการ)
- เส้นทางการคิดค้นหาเพื่อให้เปิดทะเลสีครามแบบที่ 3 :
มองข้ามกลุ่มคนซื้อกันไปเล้ย : แนวคิดนี้เราไปฟุ้งซ่านแถวคนซื้อหรือว่ากลุ่มลูกค้าครับ หากคุณอยู่ในอุตสาหกรรมอะไรอยู่ก็ตามที่มีลูกค้าอยู่ ตบหัวลูกค้า(ในใจ)แล้วก็บอกลากันได้เลยว่า ไม่เอายูแล้วนะ..ไอจะนอกใจ.. คิดอีกว่า คนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าเรามันเหลืออะไรมั่ง(โลกทั้งใบ ลบด้วยลูกค้าเรา .. มันก็เหลืออีกเยอะมาก เยอะมากจริงๆ) สินค้านั้นใครเป็นคนซื้อไป ซื้อไปให้ใคร ใครจ่ายเงินนะ แล้วใครเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ ผมไม่ได้บอกว่าลูกค้านั้นทำหน้าที่เหล่านี้ได้ทั้งหมดเองในตัวตนของตัวเองครับ คือง่ายๆ เลิกมองลูกค้าตัวเองไปเล็งความคิดที่ลูกค้าในอุตสาหกรรมอื่นก็ยังดี จะเอาคนที่ไม่เคยซื้ออะไรจากเราเลยมาซื้อของจากเรา (สินค้าหรือบริการอื่นๆ หรือตัวเดิมหากทำได้) มันจะทำได้ยังไง ยกตัวอย่าง คิดๆไปเรื่อยเช่น เสื้อผ้าเด็ก เรารู้ว่าเรา design เพื่อให้เด็กใส่แต่ว่าพ่อแม่ต่างหากเป็นคนตัดสินใจซื้อ และ หนังสือ fashion ผู้ใหญ่ต่างหากที่เป็นแรงอิทธิพลให้ผู้ใหญ่เลือกซื้ออะไรให้กับเด็ก สมมุติว่าผมรู้ว่าลูกค้าผมคือผู้ใหญ่ แล้วเด็กล่ะ .. ผมจะทำยังไงให้เด็กได้เลือกซื้อเองได้โดยไม่มีอิทธิพลผู้ใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้อง ผมย้ายจากผู้ใหญ่เป็นเด็กจริงๆ คุณอาจจะแปลกใจว่า เงื่อนไขในใจได้ผุดออกมาแล้วว่า .. อืม . เด็กไม่มีเงินนี่หน่า แล้วจะซื้อได้ยังไง นั่นมันปัญหาของคุณนิ คิดต่อได้ไม่ยากน่ะครับผมคิดออกแล้วด้วยว่าจะแก้เรื่องนี้ได้ยังไง แต่ว่าผมไม่พิมพ์บอกในนี้หรอกครับ เพราะว่าท่าทางว่าจะอธิบายยาวครับผม เวลาออกแบบสินค้าหรือบริการใหม่ อาจจะตั้งเป้าคนที่เหลือที่อยู่บนโลกนี้ได้เป็นสองแบบจากหนังสือตะกี้ได้เล่าเกริ่นไปแล้ว คือ แยกเป็น
”คนจ่ายเงิน” ”คนใช้” และ “คนที่มีอิทธิพล” ดูว่าสินค้าเรานั้นจะออกแบบไปกระตุ้นเร้าใครได้บ้าง ย้ายตำแหน่งก็ได้เช่น แต่เดิมเราขายให้คนใช้ เราก็ไปขายให้คนมีอิทธิพลแทนก็ได้ สินค้าไม่ต้องเข้าไปติดต่อจัดซือ ไปติดต่อเจ้าของเอาก็ได้เป็นต้น ฟังดูไม่เร้าใจเท่าไหร่ งั้นมองคนที่เหลือของโลก (non-customer) แบบนี้ก็ได้ครับ พวกที่ไม่เคยใช้สินค้าเราเลย .. พวกที่คิดว่าสินค้าเราเป็นทางเลือก.. พวกที่ได้ใช้สินค้าเราบ้าง . .แบ่งออกมาแล้วลองคิดว่า จะสนองความไม่เคยต้องการนั้นได้อย่างไรครับ มันเหมือนเป็นการคิดข้ามกลุ่มอุตสาหกรรม ข้ามทางเลือกเหมือนแนวทางที่หนึ่งแต่ว่าตั้งเป้าความคิดไปเป็นที่คนแทนครับไม่ใช่ที่ service หรือสินค้าอะไร มองไปที่ลูกค้าของสินค้าหรือบริการของอุตสาหกรรมอื่นแทนยังไงอย่างงั้นเลยครับ
ผมคงต้องหยุดพิมพ์เท่านี้ก่อนแล้วกันนะครับ เพราะว่าเนื้อความที่ผมพิมพ์เอาไว้กะว่าจะพิมพ์ต่อก็ไม่ได้เขียนอะไรต่อมาอีก (หาเวลามาพิมพ์ต่อไม่ได้เท่าไหร่นะครับ) ยังไงก็แล้วว่างๆจะคิดอัดต่อให้มันรู้เรื่องมากกว่านี้แล้วกันนะครับ ^_^
No comments:
Post a Comment