แปลกอย่างที่น้องผมเคยถามเอาไว้ว่า "ความซวย" คืออะไร? แต่ว่าผมไม่ได้บอกอะไรเค้าไปตรงๆหรอกว่า มันคืออะไร แต่ผมบอกเค้าไปว่าถ้าหากว่ามันเหตุผลแล้วล่ะก็เหตุผลมันก็น่าจะมีดังต่อไปนี้ ผมก็จัดแจงยกตัวอย่างเรื่องโลกคู่ขนานออกไปเรือ่ยๆ ให้เค้าได้ฟัง เรื่องมันมีอยู่ว่า ..
ถ้าหากว่าเรานั้นทำอะไรที่จะเกิดทางเลือกอันมี ความจะเป็นเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วล่ะก็ สิ่งเหล่านั้นจะต้องเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งแต่ว่าเราจะรู้ผลของเหตุการณ์เหล่านั้นได้แค่ผลอย่างเดียว เช่น หากว่าเราแทงรูเร็ตเป็นสีดำ (โอกาสเกิดสีดำและสีแดงเท่าๆกันหากว่าไม่พูดถึงเลข 0 ที่มันมีในเกมส์แล้วกันนะครับ) ผลที่ออกมาน่าจะเป็นไปได้ว่า ไม่ออกสีดำก็สีแดง ถ้าหากว่าสีดำตานั้นเราก็ชนะได้เงินไป หรือว่าถ้าหากว่าออกเป็นสีแดงก็แพ้ไปตามเกมส์ แต่เมื่อผลออกมาเป็นสีดำ แปลว่า "เราอยู่ในโลกที่ผลลัพธ์ออกมาเป็นสีดำ" เท่านั้นเองครับ เรารับรู้ผลของเหตุการณ์ได้แค่ผลเดียวของเหตุการณ์หนึ่งๆเท่านั้น และเราไม่สามารถย้อนเวลาเพื่อไปสำเหนียกรู้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์เป็นสีแดงได้แต่อย่างใด เราทำไม่ได้จริงๆครับ เราอยู่บนโลกที่ผลล้พธ์ของเกมส์รูเล็ตออกมาเป็นสีดำไปแล้ว นั่นเอง แท้ที่จริงนั้นมันอาจจะมีโลกที่มีผลลัพธ์ออกเป็นสีแดงก็ได้แต่ว่าเราแค่ไม่ไดอยู่ที่โลกนั้นเท่านั้นเอง เรารับรู้ผลจากเหตุการณ์ได้แค่อย่างเดียวหากมีการตัดสินใจโดยธรรมชาติครับ ธรรมชาติไม่ได้เล่นตลกกับเราเพียงแต่ว่าถ้าหากว่าโลกนี้จักรวาลนี้กำหนดให้เราไหลไปอยู่โลกแบบไหนเราก็จะอยู่บนโลกนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าหากว่าเป็นธุรกิจหรือว่าอะไรก็สุดแล้วแต่เราจะเรียงสิ่งนี้ว่า ตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ หรือ uncontrolable factor ซึ่งสิ่งที่มนุษย์ ณ เวลาหนึ่งๆคิดต่อเหตุการณ์นั้นจะคิดได้แค่ว่า เรื่องโอกาสและความน่าจะเป็นเท่านั้น เราก็เริ่มนิยามว่า ถ้าอะไรก็ตามที่ความรู้เราประเมินว่า โอกาสเกิดได้มันต่ำ หรือต่ำมาก แล้วผลนั้นเกิดขึ้นจริง เราเรียกสิ่งนั้นว่า "ซวย" เท่านั้นเอง เพราะการที่มีโอกาสเกิดแม้ว่าจะต่ำมากก็ตามมันไม่ได้แปลว่ามันจะไม่เกิด อาจจะมองในทางไม่ดีอย่างว่าเราก็รู้สึกว่ามัน ซวยยังไงล่ะครับ แต่ว่าถ้าหากว่า มันเป็นเรื่องทางดี ได้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อตัวเราเราก็เรียกมันตรงข้ามว่า "โชคดี" (Lucky) เช่น หากว่าเราประเมินได้ว่าการถูกหวย แบบแทงสองตัว (โอกาส 1ใน 100) แล้วเหตุการที่ถูกหวยเกิดขึ้น เราก็นึกแค่ว่าเราโชคดีมันก็เท่านั้นเองครับนั่น
เหตุการณ์ที่เราจะตกอยู่ในโลกของผลจากเหตุการณ์แบบใดๆนั้น เราไม่ได้เป็นผู้กำหนด แต่ว่ามีอะไรสักอย่างที่กำหนดเอาไว้แล้วต่างหาก เหตุผลนั้นเริ่มจะออกแนวศาสนาแล้วกืคือ กรรม หรือลิขิตฟ้าว่าอย่างงั้น! แต่คนเราก็อีกน่ะหละครับ คิดที่จะควบคุมสิ่งนี้โดยมีการกำหนดกันว่าหากว่าทำดีก็จะดี เพื่อให้ผลลัพธ์ดี การทำอะไรที่ไม่ดีต่อคนอื่นผลลัพธ์ที่ไม่ดีจะเกิดกับตนได้ด้วยเช่นเดียวกัน หรือถ้าหากว่าทำบุญก็จะทำให้ "โชคดี" เป็นต้น ดังนั้นสำหรับองค์กรหรือคนทำธุรกิจมีความจำเป็นอย่างหนึ่งที่จะต้องเป็นคนดีและทำความดีครับ เหมือนเป็นการแบ่งจ่ายอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับสิ่งที่ควบคุมตัวเราหรือผลของเหตุการณ์นั้นเองครับ ผมยกตัวอย่างคนที่คิดอย่างนี้อย่างแรงให้เห็นขนาดที่เขียนเอาไว้ในหนังสือเค้าเลยก็คือ โรเบิร์ต คิโยซากิ ที่เขียนเรื่อง Rich Dad Poor Dad ที่คิดว่าการทำความดีเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา เพราะจะมีการแบ่ง 10% ของรายได้ เพื่อทำการกุศล (เหตุผลอื่นเค้าไม่ได้ว่าเพราะอะไรทำไมต้องแบ่งอย่างงั้น แตว่าที่แน่ๆ มีการบอกเอาไว้อยู่ตอนหนึ่งที่ทำให้ผลสะกิดใจว่า เอ .. คิดอย่างงี้เลยหรือ ?) เหมือนประมาณว่า พระเจ้าหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เค้าคิดว่าเป็นคนควบคุมสิ่งที่ควบคุมไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ parter หรือเพื่อนทำธุรกิจ อืม .. แล้วแต่จะคิดน่ะครับ เอาเป็นว่า ใครก็เห็นว่ามีอะไรควบคุมสิ่งที่ควบคุมไม่ได้นี้อยู่ มันก็สุดแล้วแต่ว่าจะอธิบายอย่างไรกันเท่านั้นเอง แต่ที่แน่ๆมันก็มีบางเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องรู้ครับผม !
No comments:
Post a Comment