Thursday, May 14, 2009

Sunk Cost คิดตัดสินใจแบบจมปรัก..

ลดละเลิกการคิด sunk cost หรือต้นทุนที่ผ่านไปแล้ว (ทำอะไรไม่ได้)

sunk cost ถ้าแปลเป้นไทยผมว่ามันก็น่าจะแปลตรงๆว่าต้นทุนจม ที่ไม่ผ่านไปแล้วในอดีต แต่ว่าเรารู้สึกเอาเองว่ามันน่าจะมีผลต่อการตัดสินใจ ต่อทิศทางในอนาคต หรือเพื่อตัดสินใจใดๆ ที่จะเป็นการกระทำต่อไปในปัจจุบันเพื่อหวังผลใดๆ ในอนาคตนั่นเอง (โปรดอ่านอีกครั้ง)

ผมว่านะคนปกติจะเอาต้นทุนจมมาคิดโดยไม่รู้ตัวหรอกว่ามันไม่เหตุผลใดๆที่จะต้องคิดถึงมันหรือว่ามันไม่พึงเป็นปัจจัยอะไรที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเราครับ มันฟังดูเหมือนจะมีเหตุผล(ทางจิตใจ) แต่ว่ามันไม่มีเหตุผลสำหรับการตัดสินใจที่ rational ครับ (อย่างมีเหตุผล หากว่าการตัดสินใจนั้นไม่เกี่ยวข้องกับจิตใจของคนอื่นใดๆ หรือ ต่อคนเอง) มันจะไม่มีผลได้ก็ต่อเมื่อ คนคิดหรือตัดสินใจนั้นรู้ว่า sunk cost มันมีตัวตนเสียก่อนน่ะครับ ไม่อย่างงั้นเค้าเหล่านั้นไม่รู้หรอกว่ามันคืออะไรแล้วก็คิดว่าตนเองนั้นคิดอย่างเหตุผลแล้ว ..(ทั้งๆที่มันไม่นะ)

เช่น สมมุติว่าเราลงทุนกับอะไรสักอย่างไปแล้วด้วยแรงกายหรือแรงใจ หรือแม้กระทั่งแรงเงินแล้วพบว่า การกระทำนั้นไม่ส่งผลดีต่อตัวเรา ถ้าหากว่าคิดแบบเอา sunk cost มาคิดก็จะคิดได้ว่า ก็เพราะว่าเราลงทุนไปแล้วดีไม่ดียังไงก็ต้องเดินหน้าทำต่อไป หรือ่วาต้องให้ได้ผลออกมาให้ได้ได้ไม่ดีก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรออกมา ยกตัวอย่างให้เห็นกันหน่อยดีกว่าครับ เช่น บริษัทมือถือบอกว่าตอนนี้ลงทุนสร้างระบบดาวเทียมเพื่อเชื่อมสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วโลก แล้วเสร็จแล้วครึ่งหนึ่งของโครงการ ยังเหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงจะใช้การได้สมบูรณ์ แต่แล้ว เรื่องจากระยะเวลาในการดำเนินการนั้นกืนเวลานานอยู่ ทำให้โลกเราพบเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ดาวเทียมอย่างว่า เพื่อที่จะคุยโทรศัพท์ได้ทั่วโลก สิ่งที่เกิดความโครงการครึ่งแรกเป็นต้นทุนจมไปแล้วครับ หากว่าทำเสร็จทั้งโครงการก็จะประเมินได้ว่าคนใช้บริการก็จะน้อยเอามากๆเพราะว่าต้นทุนของเทคโนโลยีใหม่จากถูกกว่ามากๆทำให้โครงการดาวเทียมนี่มันเป็นหมันได้ คนต้องตัดสินใจว่าจะเดินหน้าทำโครงการที่เหลืออยู่อีกครึ่งหรือไม่ นั่นเป็นจุดที่ต้องตัดสินใจ คนที่คิด sunk cost เข้ามาในหัวจะคิดว่า "ก็เพราะว่าเราลงทุนไปแล้วนี่หน่า ทำอีกหน่อย ก็จะได้ผลสำเร็จออกมา (สำเร็จในที่นี้แปลว่ามันใช้การได้เท่านั้นเอง) ก็น่าจะดี แหม ถ้าเลิกตอนนี้ก็น่าเสียดายแล้วไอที่ทำไปแล้วล่ะทำยังไงล่ะนั่นถ้าหากว่าเลิกตอนนี้ จริงหรือเป่าเนาะ .. " คนคิดแบบ sunk cost จะเสียดายเงินแรงงานและเวลากับสิ่งที่ทำไปได้ แล้วแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ให้มันมีผลต่อการคิดตัดสินใจครับ ถ้าคนที่ไม่คิด sunk cost จะคิดแนวว่า "ก็เพราะว่าถ้าเราเดินหน้าต่อตอนนี้จะไม่ทำให้เกิดผลกำไรแต่ประการใด แม้ว่าจะทำให้เสร็จทั้งโครงการก็ถึงว่าโครงการนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดกำไรได้ มันมีคู่แข่งทางเทคโนโลยีที่ดีกว่าแล้ว ณ เวลานี้ เราจะต้องไม่คิดเอาเงินลงทุนที่ลงไปแล้วเข้ามาคิด เพราะมันทำอะไรกับสิ่งทีทำไปแล้วไม่ได้อีกต่อไป (แต่ว่าก็แอบคิดว่าทีทำไปแล้วครึ่งหนึ่งนั้นจะทำประโยชน์อะไรอื่นๆได้มากกว่า มากกว่าที่จะเอาไปทำเพื่อจุดประสงค์เดิม) "

แนวคิดแบบนี้หายขยายผลออกมาไปให้เป็นเชิงกว้างอาจจะคิดได้ว่า ไม่ว่าคุณทำอะไรลงไปแล้วก็ตามมันไม่น่าจะผลต่อการตัดสินใจใดๆกับตัวคุณเองครับ แต่ว่าคุณต้องแยกแยะออกเท่านั้นเองว่าอะไรเป็น sunk cost ครับ การขยายความคิดให้กว้างออกไปก็เช่นว่า สมมุติว่าคุณเรียนอะไรมาก็สุดแล้วแต่ แล้วคุณทำงานในสายอาชีพนั้นแล้วพบว่ามันไม่ได้ดีอย่างที่คิดหรือคุณเห็นว่าสายงานอาชีพอื่นนั้นดีกว่าและคุณก็สนใจมันซะด้วยซิเพราะว่ามันเห็นอนาคตที่ดี คนที่คิดแบบมี sunk cost ฝังหัวก็คิดว่า ก็เพราะว่าเราเสียเวลาเล่าเรียนมาแล้ว ก็เพราะว่าเราใช้เวลากับมันมาแล้ว เมื่อมันไม่ได้ดีเท่าไหร่นัก ก็ไม่เป็นไรเดินหน้าต่อไปให้ได้ เพราะเสียดายความรู้และเวลาที่ผ่านมา สำหรับคนที่ไม่คิด sunk cost เรื่องเวลา แรงงานและอื่นๆที่ได้กระทำผ่านมาจะไม่มีผลใดๆต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสายงานของเค้าเลยแม้แต่น้อยครับ

หรือหากว่าขยายกว้างออกไปอีกกับ concept ประมาณเดียวกันนี้ ก็เช่นว่า ถ้าหากว่าคุณทำอะไรแย่ๆมาแล้วก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะทำอะไรแย่ๆออกไปอีก หรือว่าคุณเคยทำอะไรสำเร็จมาแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะทำอะไรต่อมิอะไรสำเร็จได้อีก เช่นเดียวกัน เพราะต้นทุนประสบการณ์ของคุณนั้น ประสบการณ์จะเป็น sunk cost ได้หรือ ? มันเป็นก็ต่อเมื่อคุณเอาสิ่งเหล่านั้นมาคิดโดยให้น้ำหนักกับเหตุการณ์สถานะการณ์ปัจจุบันหรือการคาดคะเนในอนาคตน้อยกว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาของคุณครับ ยังไงก็แล้วแต่ครับ ประสบการณ์จะทำให้คุณรู้จักว่า sunk cost มันคืออะไรอยู่ดีน่ะหละ .. (หรือไม่ก็มีคนมาเล่าเรื่องประมาณนี้ให้คุณได้แอบคิดเล่นอยู่ในใจครับผม)

No comments: